โสมไทย

ชื่อสมุนไพร : โสมไทย
ชื่อเรียกอื่นๆ : โสม, โสมคน (ภาคกลาง), ว่านผักปัง (เชียงใหม่), โทวหนิ่งเซียม (จีน) และ ถู่เหยินเซิน (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Talinum paniculatum Gaertn.
ชื่อสามัญ : Fame Flower, Ceylon Spinach, Sweetheart  และ Surinam Purslane
วงศ์ : PORTULACACEAE

 ST4

โสมไทยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายที่มีความชุ่มชื้นสูง ชอบที่มีแสง พบขึ้นได้ไปในทุกภาคของประเทศ มักพบบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ตามไร่สวน หรือบ้านเรือนทั่วไป ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากมีลักษณะของลำต้นและใบที่เขียวชอุ่ม และมีดอกสีม่วงที่ดูสวยงามอุดมไปด้วยวิตามิน และเป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ ใบอ่อนและยอดอ่อน จะนำมาใช้รับประทานเป็นผักใบเขียว มีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย คุณค่าทางโภชนาการประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต, เส้นใยอาหาร, โปรตีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินเอ, วิตามินบี1, วิตามินบี2 นอกจากนี้ยังมี essential oils, สาร flavonoids, chromene และมีน้ำมันหอมระเหย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น ลดผมหงอก และลดผมคันอีกด้วย

 ST3

ลักษณะสมุนไพร :
โสมไทยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณโคนต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมและฉ่ำน้ำ ต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล รากเป็นรากแก้วหรือเหง้าขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน มีความเหนียว รูปกลมยาวปลายแหลม และมีรากฝอยมาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปมนรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลมสั้น โคนใบสอบหรือเรียว ส่วนขอบใบ แผ่นใบเป็นสีเขียวเรียบเป็นมัน ไม่มีขน หลังใบมีสีเข้มกว้าท้องใบ เนื้อใบหนาและนิ่ม เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ออกดอกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดหรือที่ปลายกิ่ง ก้านช่อตั้งขึ้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกเป็นสีม่วงแดงอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่หรือเป็นรูปกลมรี ปลายกลีบแหลม กลีบดอกเป็นสีม่วงแดงไม่มีกลิ่น ผลรูปทรงกลมหรือกลมรีขนาดเล็ก เมื่ออ่อนผลจะเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีเหลืองอ่อน สีแดง และจะเป็นสีเทาเข้ม ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก 50-60 เมล็ด เมล็ดเป็นรูปกลมแบน เมล็ดมีสีขาวตอนผลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ผิวเมล็ดเรียบ มีลักษณะเปราะบาง

 ST2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เหง้า และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก บำรุงร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลีย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ บำรุงร่างกายหลังการฟื้นไข้ใหม่ๆ แก้ศีรษะมีไข้ แก้อาการไอ ไอเป็นเลือด ไอแห้ง แก้ปวดร้อนแห้ง รักษาอาการไอเรื้อรัง บำรุงปอด ทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้ท้องเสีย แก้ธาตุอ่อน กระเพาะลำไส้ไม่มีเรี่ยวแรง ถ่ายกะปริบกะปรอย แก้ปัสสาวะขัด แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นติ บำรุงม้าม บำรุงน้ำนมของสตรี  ทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น ลดผมหงอก ลดผมคัน
  2. เหง้า บำรุงร่างกาย แก้อาการอักเสบ ลดอาการบวม
  3. ใบ แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม

 ST1

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลีย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ บำรุงร่างกายหลังการฟื้นไข้ใหม่ๆ แก้ศีรษะมีไข้ แก้อาการไอ ไอเป็นเลือด ไอแห้ง แก้ปวดร้อนแห้ง รักษาอาการไอเรื้อรัง บำรุงปอด ทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้ท้องเสีย แก้ธาตุอ่อน กระเพาะลำไส้ไม่มีเรี่ยวแรง ถ่ายกะปริบกะปรอย แก้ปัสสาวะขัด แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นติ บำรุงม้าม บำรุงน้ำนมของสตรี ทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น ลดผมหงอก ลดผมคัน นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. บำรุงร่างกาย แก้อาการอักเสบ ลดอาการบวม นำเหง้ามาดองกับเหง้า ดื่มรับประทานบำรุงร่างกาย หรือ นำเหง้าฝนกับน้ำ ทาบรรเทาอาการอักเสบ
  3. แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม นำใบอ่อนของต้นโสมไทยมาผัดกินเป็นอาหาร ช่วยขับน้ำนม หรือ นำใบสดกับน้ำตาลทรายแดง นำมาตำผสมกันให้ละเอียดจนเข้ากัน ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น

ST5

ถิ่นกำเนิด :
โสมไทยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy