ชื่อสมุนไพร : แสลงใจ
ชื่อเรียกอื่นๆ : แสลงทม, แสลงเบื่อ (นครราชสีมา), แสงโทน, แสลงโทน (โคราช), แสงเบื่อ (อุบลราชธานี), โกฐกะกลิ้ง, กระจี้, กะกลิ้ง, ตูมกาแดง (ภาคกลาง), ดีหมี, ว่านไฟต้น และ มะเกลื้อ (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-vomica Linn.
ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree และ Snake Wood
วงศ์ : STRYCHNACEAE
แสลงใจเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ประโยชน์ของแสลงใจ คือ เนื้อไม้ของต้นแสลงใจเป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้ และ เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลาก็ได้ บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร ของชนเผ่าอินเดียแดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์
ลักษณะสมุนไพร :
แสลงใจเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เมล็ด และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ราก แก้ไข้มาลาเรีย แก้ท้องขึ้น แก้อาการอักเสบจากงูกัด
- เมล็ด เจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ บำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด บำรุงประสาทอย่างแรง ตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย แก้โรคโปลิโอในเด็ก ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ฝีต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม
- ใบ แก้โรคไตพิการ แก้อาการฟกช้ำ
วิธีการใช้ :
- แก้ไข้มาลาเรีย แก้ท้องขึ้น แก้อาการอักเสบจากงูกัด นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- เจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ บำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด บำรุงประสาทอย่างแรง ตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย แก้โรคโปลิโอในเด็ก ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ฝีต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้โรคไตพิการ แก้อาการฟกช้ำ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ นำมาตำพอกแผล
ถิ่นกำเนิด :
แสลงใจเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
.