บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เล็บมือนาง


ชื่อสมุนไพร : เล็บมือนาง
ชื่อเรียกอื่นๆ : อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), แสมแดง (ชุมพร), เล็บนาว (สตูล), มะจีมั่ง, จ๊ามัง, จะมั่ง (ภาคเหนือ), นิ้วมือพระนารายณ์ (ใต้), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), วะดอนิ่ง, อะดอนิ่ง (มะลายู-ยะลา) และ เล็บมือนางต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quisqualis indica Linn.
ชื่อสามัญ : Rangoon Creeper, Chinese Honey Suckle, Drunen Sailor และ Rose
วงศ์ : COMBRETACEAE



LMN3

เล็บมือนางเป็นพืชที่นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม ปลูกเป็นซุ้มตามประตู ตามรั้ว หรือขึ้นร้านเป็นหลังคาที่นั่งผักผ่อน หรือปลูกตามริมถนน หรือริมทางเดิน จัดเป็นไม้โตเร็ว ปลูกง่าย มีดอกสวยงาม ให้กลิ่นหอมเย็น หรือจะนำมาปลูกริมทะเลก็ได้ เพราะทนน้ำท่วมขัง ทนสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี คุณประโยชน์ของใบอ่อนนั้นสามารถนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุกด้วยการต้ม นึ่ง ลวก ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก อีกทั้งน้ำต้มที่ได้จากเมล็ดมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าไส้เดือนและปลิงได้อีกด้วย ซึ่งจากการทดสอบฤทธิ์กานต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยสกัดเมล็ดด้วยน้ำร้อน พบว่าไม่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนอง และแบคทีเรียในลำไส้ สำหรับข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเล็บมือนางนั้น ห้ามรับประทานมากเกินกว่าปริมาณที่กำหนด เนื่องจากในเมล็ดเล็บมือนางมีพิษ หากได้รับพิษจะทำให้มีอาการสะอึก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย และมีอาการถ่าย

 LMN4

ลักษณะสมุนไพร :
เล็บมือนางเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลางเลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาทึบ เถาอ่อนเป็นสีเขียว เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนแดง เปลือกค่อนข้างเรียบ หรือมีหนามเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปมนแกมขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อบาง ท้องใบมีขนปกคลุมเป็นจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายกิ่งหรือยอดของลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาวสีเขียว โดยมีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลม มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอดรูปทรงกระบอกยาว ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน โดยช่อดอกเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ผลเป็นผลแห้งและแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย ผลมีขนาดโตประมาณ 0.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ผลสุกเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

 LMN1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ลำต้น, ราก และ เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่แห้ง
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ แก้ฝี แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้
  2. ลำต้น แก้ไอ
  3. ราก ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
  4. เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่แห้ง ขับพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้ายในเด็ก

 LMN2

วิธีการใช้ :

  1. แก้ฝี แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทานแก้ไข้ หรือ นำมาตำชโลม ทาแผล
  2. แก้ไอ นำลำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ขับพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้ายในเด็ก นำเมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่แห้งมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 LMN5

ถิ่นกำเนิด :
เล็บมือนางเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน

 





.