เพกา

ชื่อสมุนไพร : เพกา
ชื่อเรียกอื่นๆ : ลิ้นฟ้า (จังหวัดเลย,ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (จังหวัดกาญจนบุรี), ดุแก, ดอก๊ะ, ด๊อกก๊ะ (จังหวัดแม่ฮ่องสอน), มะลิ้นไม้, มะลิดไม้, ลิดไม้ (ภาคเหนือ) และ เบโด (จังหวัดนราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ : Broken Bones Tree, Damocles Tree และ Indian Trumpet Flower
วงศ์ : BIGNONIACEAE

PKA1

เพกาเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก มีสรรคุณทางยาตามตำรายาสมุนไพรนั้นจะใช้ส่วนต่างๆของต้นเพกาตั้งแต่ ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5” และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก ตามความเชื่อของคนโบราณนั้นห้ามปลูกเพกาไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากฝักของเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจเลือกตกยางออกได้ และเพกายังเป็นชื่อเรียกของเหล็กประดับยอดพระปรางค์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายฝักของเพกา จึงถือว่าเป็นของสูงไม่คู่ควรแก่การนำมาปลูกไว้ในบ้าน

 PKA2

ลักษณะสมุนไพร :
เพกาเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี มีความกว้าง 4-8 เซนติเมตร และความยาว 6-12 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อซึ่งออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝักลักษณะรูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว และมีปีกบางโปร่งแสง

 PKA3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น, ฝักอ่อน และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต แก้อาการอักเสบ ฟกบวม
  2. เปลือกต้น สมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้อาเจียนไม่หยุด ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ แก้องคสูตร แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา แก้ฟกบวม แก้คัน
  3. ฝักอ่อน ยากวาดประซะพิษซางเด็ก แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้ ผิวหนังชา แก้ปวดฝี แก้อาการฟกบวมอักเสบ
  4. เมล็ด  เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

 PKA4

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงธาตุ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต แก้อาการอักเสบ ฟกบวม นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ นำรากมาตำพอกแผลฟกบวม
  2. สมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้อาเจียนไม่หยุด ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ แก้องคสูตร แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา แก้ฟกบวม แก้คัน นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ นำเปลือกต้นมาตำสมานแผล
  3. ยากวาดประซะพิษซางเด็ก แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้ ผิวหนังชา แก้ปวดฝี แก้อาการฟกบวมอักเสบ นำฝักอ่อนมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ นำฝักอ่อนมาตำพอกแผลฟกบวม
  4. เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ นำเมล็ดที่แห้งมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
เพกาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy