ชื่อสมุนไพร : เครือปลาสงแดง
ชื่อเรียกอื่นๆ : เครือเจ็น (เชียงใหม่), เต่าไห้ (ตราด), เครือซุด, เครือซุดแดง, ชัยสง (เลย), เถายอดแดง (อ่างทอง), ปอต่อไห้ (จันทบุรี), หุนน้ำ (สระบุรี), เถาวัลย์แดง, หัวขวาน (ชลบุรี), เถาโก (ประจวบคีรีขันธ์), และ เครืออีม้อ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton
ชื่อสามัญ : –
วงศ์ : APOCYNACEAE
เครือปลาสงแดงเป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณผสม และตามพื้นที่โล่งทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 850 เมตร นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยทำเป็นซุ้มให้แข็งแรง ชอบดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบอากาศเย็น และมีแสงแดดตลอดวัน ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเครือปลาสงแดงนำมาผสมกับรากมะเฟืองเปรี้ยว รากตีนนก และรากตะโกนา ใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย ในบังคลาเทศจะใช้รากเป็นยาแก้เบาหวาน ตำรับยาอายุรเวทของอินเดียจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้วัณโรค
ลักษณะสมุนไพร :
เครือปลาสงแดงเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีความยาวได้ประมาณ 2-8 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เถาเป็นสีน้ำตาลแดง ตามเถาอ่อนหรือกิ่งอ่อนจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มถึงมน ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเรียบเป็นสีเขียวเข้ม มีขนขึ้นตามเส้นใบ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนขึ้นประปรายที่เส้นใบ ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากประมาณ 11-80 ดอก มีขนสั้นหนานุ่ม และมีขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ผลเป็นฝักคู่ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-10.5 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งจะแตกออกเป็นตะเข็บเดียว ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดมีขนกระจุกสีขาวคล้ายเส้นไหมติดอยู่ปลายของเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ราก แก้เบาหวาน แก้อาหารไม่ย่อย แก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อย
- ทั้งต้น แก้วัณโรค แก้อาการเพ้อคลั่ง แก้ตาบอดกลางคืน แก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก แก้ไข้ ยาแก้ไอ แก้บิด แก้เนื้องอกในช่องท้อง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ม้ามโต แก้หิด แก้หัด บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด แก้อาการชัก
- ใบ แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยป้องกันฟันผุ แก้ไข้ แก้บาดแผล แก้หิด
วิธีการใช้ :
- แก้เบาหวาน แก้อาหารไม่ย่อย แก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้วัณโรค แก้อาการเพ้อคลั่ง แก้ตาบอดกลางคืน แก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก แก้ไข้ ยาแก้ไอ แก้บิด แก้เนื้องอกในช่องท้อง แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ม้ามโต แก้หิด แก้หัด บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด แก้อาการชัก นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยป้องกันฟันผุ แก้ไข้ แก้บาดแผล แก้หิด นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
เครือปลาสงแดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.