ชื่อสมุนไพร : อ้อยช้าง
ชื่อเรียกอื่นๆ : หวีด (เชียงใหม่), ช้าเกาะ, ช้างโน้ม (ตราด), กอกกั่น, กอกกั๋น (อุบลราชธานี), ตะคร้ำ (ราชบุรี), ซาเกะ (สุราษฎร์ธานี), กุ๊ก, กุ้ก (ภาคเหนือ), อ้อยช้าง (ภาคกลาง), เส่งลู่ไค้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ปีเชียง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) และ แม่หยูว้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อสามัญ : Wodier Tree
วงศ์ : MALVACEAE
อ้อยช้างเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดแบบเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง ในประเทศพบกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง บางครั้งก็พบได้ตามป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวและฝาด นิยมนำมารับประทานเป็นผัก หรือนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือก็ได้ ส่วนของรากซึ่งเป็นกระเปาะใหญ่เก็บสะสมน้ำ น้ำในรากสามารถนำมาดื่มแก้อาการกระหายน้ำได้ แก่นใช้ปรุงรสยาให้มีรสหวาน
ลักษณะสมุนไพร :
อ้อยช้างเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรงมีความสูงได้ประมาณ 12-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมเขียว เปลือกในเป็นสีชมพู มียางเหนียวใส ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกเป็นช่อตรงปลายกิ่งเรียงเวียนสลับกัน แกนกลางใบปรกอบยาวได้ประมาณ 12-28 เซนติเมตร ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร เป็นรูปคล้ายทรงกระบอก มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบย่อยจะค่อนข้างสั้น มักมีสันปีกแคบๆ ด้านใดด้านหนึ่ง ดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลดแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งก่อนผลิใบ ช่อดอกห้อยลงมาจากกิ่งที่ไม่มีใบ กลีบดอกหอม ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอมเหลือง ขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร ก้านช่อมีขนเล็กๆ ทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปถั่ว รูปไตแบน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมมุมฉากถึงรูปกลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีม่วงแดง ผลแก่เป็นสีม่วงอมแดง
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้น, ใบ, แก่น และ ราก
สรรพคุณทางยา :
- เปลือกต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย รักษาอาการตาเจ็บ ตาอักเสบรุนแรง รักษาอาการปวดฟัน แก้เสมหะเหนียว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ช่วยสมานแผล และเป็นยาห้ามเลือด ยาแก้ฝีเมื่อเป็นฝี และรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน ยาแก้ผิวหนังพุพอง เน่าเปื่อย ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ ยาแก้ปวด แก้รอยฟกช้ำ อาการแพลง
- ใบ ช่วยแก้อาการปวดประสาท ยาแก้ไอเป็นเลือดเช่นกัน ยารักษาโรคเท้าช้าง ยารักษาอาการอักเสบ อาการแพลง และรอยฟกช้ำ
- แก่น ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ เกิดความชุ่มชื่นในอก
- ราก ยาแก้ท้องเสีย
วิธีการใช้ :
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย รักษาอาการตาเจ็บ ตาอักเสบรุนแรง รักษาอาการปวดฟัน แก้เสมหะเหนียว ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ช่วยสมานแผล และเป็นยาห้ามเลือด ยาแก้ฝีเมื่อเป็นฝี และรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน ยาแก้ผิวหนังพุพอง เน่าเปื่อย ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ ยาแก้ปวด แก้รอยฟกช้ำ อาการแพลง นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
- ช่วยแก้อาการปวดประสาท ยาแก้ไอเป็นเลือดเช่นกัน ยารักษาโรคเท้าช้าง ยารักษาอาการอักเสบ อาการแพลง และรอยฟกช้ำ นำใบมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
- ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ เกิดความชุ่มชื่นในอก นำแก่นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
- ยาแก้ท้องเสีย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
อ้อยช้างเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายูและชวา
.