ชื่อสมุนไพร : อินทนิลน้ำ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ตะแบกดำ (กรุงทพ), ฉ่วงมู, ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บางอบะซา (นราธิวาส, มลายู-ยะลา), บาเย, บาเอ (มลายู-ปัตตานี) และ อินทนิล (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อสามัญ : Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India และ Jarul
วงศ์ : LYTHRACEAE
อินทนิลน้ำเป็นพืชที่นิยมปลูกไว้เป็นไม้ริมทางและเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกและใบที่สวยงาม ให้ร่มเงาและเจริญเติบโตเร็ว โดยมักพบขึ้นตามที่ราบลุ่มที่ชื้นแฉะทั่วไป รวมไปถึงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำลำห้วย หรือในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบของทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ เนื้อไม้เป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง เหนียวและทนทน ตกแต่งขัดเงาได้ง่าย โดยนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ใช้ทำกระดาษพื้น ฝา รอด ตง กระเบื้องไม้มุงหลังคา คานไม้ และอื่นๆ ได้แก่ เรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ตัวถังเกวียน ไม้นวดข้าว กระเดื่อง ครกสาก บ่อน้ำ ร่องน้ำ กังหันน้ำ หมอนรางรถไฟ ถังไม้ เปียโน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้เบาหวานและช่วยลดความอ้วนได้อีกด้วย จนได้มีการนำใบอ่อนนำมาตากแดดใช้ชงเป็นชาไว้ดื่มหรือแปรรูปเป็นสมุนไพรแบบสำเร็จรูปในรูปแบบแคปซูลได้อีกด้วย
ลักษณะสมุนไพร :
อินทนิลน้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5-20 เมตร โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน เรือนยอดที่แผ่กว้าง เป็นพุ่มคล้ายร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อย ผิวเปลือกต้นจะมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เรียบไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปทรงขอบขนาน ใบมีสีเขียวเนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบบนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม ดอกมีหลายสี เช่น สีม่วงอมชมพู สีม่วงสด หรือม่วงล้วน ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งยาวถึง 30 เซนติเมตร บนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมๆ เล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ที่ผิวนอกของกลีบฐานดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วย จะมีสีสันนูนตามยาวเห็ดชัด และมีเส้นขนสั้นๆ ปกคลุมอยู่ประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อน ผิวกลีบจะเป็นคลื่นๆ เล็กน้อย รังไข่กลมเกลี้ยง ผลเป็นรูปไข่เกลี้ยงๆ ผิวจะเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ผลมีสีน้ำตาลแดง ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง และจะเผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, เมล็ด, เปลือก และ ราก
สรรพคุณทางยา :
- ใบ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เมล็ด ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการนอนไม่หลับ รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เปลือก ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้อาการท้องเสีย
- ราก รักษาแผลในช่องปากและคอ สมานท้อง
วิธีการใช้ :
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด นำใบแก่มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการนอนไม่หลับ รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด นำเมล็ดมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้อาการท้องเสีย นำเปลือกมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
- รักษาแผลในช่องปากและคอ สมานท้อง นำรากมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน หรือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณท้อง
ถิ่นกำเนิด :
อินทนิลน้ำเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย
.