อบเชยต้น


ชื่อสมุนไพร : อบเชยต้น
ชื่อเรียกอื่นๆ : บอกคอก (ลำปาง), พญาปราบ (นครราชสีมา), กระดังงา (กาญจนบุรี), สะวง (ปราจีนบุรี), ฝักดาบ (พิษณุโลก), กระแจะโมง, กะเชียด, กะทังนั้น (ยะลา), มหาปราบตัวผู้, อบเชย (ภาคกลาง), เขียด, เคียด, เฉียด, ชะนุต้น (ภาคใต้), ดิ๊กซี่สอ, กัวเล่ะบิ๊ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), กะพังหัน,โกเล่, เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เสี้ยง (ม้ง), ม้าสามเอ็น (คนเมือง) และ เชียด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อสามัญ : Cinnamon
วงศ์ : LAURACEAE



OCH2

อบเชยต้นเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง จัดเป็นเครื่องยาหรือเครื่องเทศที่ได้มาจากการขูดเอาเปลือกชั้นออกให้หมด แล้วลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น โดยใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มสลับกับตากแดดประมาณ 5 วัน และในขณะที่ตากให้ใช้มือม้วนเอาขอบทั้งสองข้างเข้าหากัน เมื่อเปลือกแห้งแล้วจึงมัดรวมกัน โดยเปลือกอบเชยที่ดีนั้นจะต้องเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีสนิม มีความตรงและยางอย่างสม่ำเสมอ โดยยาวประมาณ 1 เมตร มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมแบบเฉพาะ สรรพคุณเป็นยารักษาโรคสามารถกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปากมดลูก สามารถยับยั้งการเจริญและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งตับได้ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งผิวหนัง

 OCH3

ลักษณะสมุนไพร :
อบเชยต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร ลักษณะรูปทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปเจดีย์ต่ำๆ ทึบ เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกและใบมีกลิ่นหอม ใบอบเชยไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ เส้นใบออกจากโคนมี 3 เส้น ยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกอบเชยไทย ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน ผลอบเชยไทย ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมีความแข็ง ตามผิวผลมีคราบขาว แต่ละมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลมีลักษณะเป็นรูปถ้วย

 OCH1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ เปลือก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ
  2. ใบ ยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ
  3. เปลือก บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม แก้โรคหนองใน แก้โทษน้ำคาวปลา เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ บำรุงกำลัง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต

 OCH4

วิธีการใช้ :

  1. แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม แก้โรคหนองใน แก้โทษน้ำคาวปลา เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ บำรุงกำลัง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต นำเปลือกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
อบเชยต้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

 





.