หูเสือ

ชื่อสมุนไพร : หูเสือ
ชื่อเรียกอื่นๆ : หอมด่วนหูเสือ, หอมด่วนหลวง (ภาคเหนือ), เนียมหูเสือ (ภาคอีสาน), ผักฮ่านใหญ่ (ไทยใหญ่), ผักหูเสือ (ไทย), เนียมอีไหลหลึง และ โฮว้หีเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
ชื่อสามัญ : Indian Borage, Country Borage, Oreille และ Oregano
วงศ์ : LAMIACEAE
HS1
หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย ตามบ้านเรือนต่างๆ ส่วนใหญ่จะพบหูเสือถูกปลูกอยู่ในกะละมัง แม้ว่าผักหูเสือจะไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่น แต่แทบทุกบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้คู่บ้าน โดยชาวบ้านในแถบทางภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ สรรพคุณทางยามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้งยีสต์ ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น และยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV

 HS2

ลักษณะสมุนไพร :
หูเสือเป็นไม้ล้มลุก ความสูงของลำต้นประมาณ 0.3-1 เมตร ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ หักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ส่วนขอบใบจักเป็นคลื่นมนๆ รอบๆ ใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือยอด ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก ดอกย่อยติดกันหนาแน่นเป็นวงรอบแกนผลเป็นระยะๆ และมีขน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วงขาว ลักษณะเป็นรูปเรือ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ กลีบบนสั้น ตั้งตรง และมีขน ส่วนกลีบล่างมีลักษณะยาวและเว้า ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลม ก้านสั้น ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสรน้ำตาลอ่อน เปลือกผลแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร

 HS3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ
  2. ต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ ช่วยแก้โรคหืดหอบ ช่วยแก้ไอ แก้หวัด แก้อาการท้องอืด
  3. ใบ ช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ แก้อาการปวด ลดไข้ แก้อาการหวัด คัดจมูก แก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้โรคหืดหอบ แก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย แก้อาการท้องอืด ช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับน้ำคาวปลา รักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง รักษาหิด แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด รักษาอาการบวม แก้ปวดข้อ แก้ลมชัก บำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี

 HS4

วิธีการใช้ :

  1. ช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ นำรากมาแช่กับน้ำธรรมดา แล้วนำมากินและอมบ่อยๆ
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ ช่วยแก้โรคหืดหอบ ช่วยแก้ไอ แก้หวัด แก้อาการท้องอืด นำลำต้นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ แก้อาการปวด ลดไข้ แก้อาการหวัด คัดจมูก แก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้โรคหืดหอบ แก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย แก้อาการท้องอืด ช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับน้ำคาวปลา รักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง รักษาหิด แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด รักษาอาการบวม แก้ปวดข้อ แก้ลมชัก บำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
หูเสือเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy