หม่อน

ชื่อสมุนไพร : หม่อน
ชื่อเรียกอื่นๆ : มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และ ซิวเอียะ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.
ชื่อสามัญ : Mulberry Tree และ  White Mulberry
วงศ์ MORACEAE

M1

หม่อนเป็นเป็นพืชตามธรรมชาติชนิดเดียวของหนอนไหมซึ่งเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน โดยหม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาวจะหยุดพักไม่เจริญเติบโตนับตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ผลหม่อนสามารถรับประทานได้ จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิเช่น กรดโฟลิกซึ่งช่วยความเสี่ยงของการพิการทางสมองและประสาท อีกทั้งยังพบสารต้านอนุมูลอิสระ ก็คือ สารแอนโธไชยานิน และสารเควอซิตินซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สอดคล้องกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทางการแพทย์แผนตะวันออกและมหาวิทยาลัยรังสิต ระบุไว้ว่าลูกหม่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อว่า Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้สารสกัดด้วยเมทานอลจากกากหม่อนที่เหลือจากการทำน้ำผลไม้จะมีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระอีกด้วย ส่วนใหญ่นิยมนำลูกหม่อนมาทำเป็นเครื่องดื่มโดยความหวานของน้ำลูกหม่อนนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายสามารถให้พลังงานแก่ร่างกายช่วยให้หายเหนื่อยและหายเพลีย ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นทั้งยังช่วยคลายอาการเครียดและมึนงงได้เป็นอย่างดี

 M2

ลักษณะสมุนไพร :
หม่อนเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับลักษณะรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบ มีความกว้าง 8-14 เซนติเมตร และความยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสาก ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่  ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบเล็กเรียว หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอดรูปทรงกระบอก แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน ช่อดอกเป็นหางกระรอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเป็นเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลสีเขียวเป็นผลรวมรูปทรงกระบอก เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้มเกือบดำ ลักษณะฉ่ำน้ำและมีรสหวานอมเปรี้ยว

M4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกลำต้น, ใบ, ราก และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกลำต้น ยาถ่าย และยาขับพยาธิ
  2. ใบ ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ไอ ระงับประสาท แก้ตาแดง ล้างตา แก้ตาอักเสบ
  3. ราก ขับพยาธิ และรักษาโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก
  4. ผล แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้โรคปวดข้อ แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ช่วยย่อย ยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ หืด วัณโรคปอด

 M3

วิธีการใช้ :

  1. ยาถ่าย และยาขับพยาธิ นำเปลือกลำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ไอ ระงับประสาท นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้ตาแดง ล้างตา แก้ตาอักเสบ นำใบมาต้มกับน้ำนำน้ำมาล้างตา
  4. ขับพยาธิ และรักษาโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้โรคปวดข้อ แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ช่วยย่อย ยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะ หืด วัณโรคปอด นำผลมารับประทานสดๆ หรือคั้นเป็นน้ำ ดื่มรับประทาน

 M5

ถิ่นกำเนิด :
หม่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัยและจีนตอนใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy