บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ส้มป่อย


ชื่อสมุนไพร : ส้มป่อย
ชื่อเรียกอื่นๆ : ส้มพอดี (ภาคอีสาน), ส้มคอน (ไทใหญ่), ส้มขอน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิจือสะ, พิฉี่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผ่อชิละ, ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แผละป่อย, เมี่ยงโกร๊ะ, ไม้ส้มป่อย (ลั้วะ)และ เบล่หม่าฮั้น (ปะหล่อง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) D.C.
ชื่อสามัญ : Soap Pod
วงศ์ : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE
SP1
ส้มป่อยเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี มักพบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ที่ราบเชิงเขา และที่รกร้างทั่วไป โดยยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ แจ่ว หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำแกงส้ม ต้มส้มไก่ ต้มข่าไก่ ต้มส้มป่อย เป็นต้น ถือเป็นผักที่มีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูงมากเป็นอันดับต้นๆ ผลจากการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของยอดส้มป่อยพบว่ามีสูงมาก และยังมีสารซาโปนินในฝักส้มป่อยที่ทำให้ทีเซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นด้วย อีกทั้งฝักแก่แห้งนำมาต้มเอาน้ำใช้สระผมเพื่อแก้รังแค แก้อาการคันศีรษะ บำรุงเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื้นเป็นเงางาม เป็นยาปลูกผม และป้องกันผมหงอกก่อนวัย หากสระผมด้วยส้มป่อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการคันบนหนังศีรษะและรังแคหายไปได้



 SPO2

ลักษณะสมุนไพร :
ส้มป่อยเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มรอเลื้อย สูงประมาณ 3-6 เมตร แต่ไม่มีมือสำหรับเกาะเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถามีเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล เถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นอยู่ทั่วไปและมีขนหูใบรูปหัวใจ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ โคนใบมนหรือตัด ส่วนขอบใบหนาเรียบ แผ่นใบเรียบ มีขนสั้นนุ่มและหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อกระจุกรูปทรงกลม โดยจะออกที่ปลายกิ่ง มีดอกประมาณ 35-45 ดอก มีขนนุ่มหนาแน่น กลีบดอกเป็นหลอดสีขาวนวล กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ มีขนบ้างเล็กน้อยที่ปลายกลีบ ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบนยาว ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อๆ ตามเมล็ด ปลายฝักมีหางแหลม สันฝักหนา ผิวฝักขรุขระหรือย่นมากเมื่อแห้ง ฝักอ่อนเปลือกเป็นสีเขียวอมแดง เมื่อแก่แล้วฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ฝักจะมีเมล็ดประมาณ 5-12 เมล็ด เมล็ดส้มป่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงแบนรี สีดำผิวมัน

 SPO3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ต้น, ดอก, ผล, ฝัก และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ไข้
  2. ใบ แก้โรคตา ชำระเมือกมันในลำไส้ ยาถ่ายเสมหะ แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู
  3. ต้น แก้ตาพิการ
  4. ดอก แก้เส้นพิการ
  5. ผล แก้น้ำลายเหนียว
  6. ฝัก แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน ฟอกผมแก้รังแค แก้ไข้จับสั่น ปิดแผลโรคผิวหนัง แก้รังแค แก้อาการคันศีรษะ บำรุงเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื้นเป็นเงางาม เป็นยาปลูกผม และป้องกันผมหงอกก่อนวัยเมล็ด คันจมูกและจามดี

 SPO4

วิธีการใช้ :

  1. แก้ไข้ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้โรคตา ชำระเมือกมันในลำไส้ ยาถ่ายเสมหะ แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้ตาพิการ นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้เส้นพิการ นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้น้ำลายเหนียว นำผลแห้งนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน ฟอกผมแก้รังแค แก้ไข้จับสั่น ปิดแผลโรคผิวหนัง นำฝักปิ้งให้เหลือง ชงกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือนำฝักแก่มาต้มกับน้ำแล้วนำมาสระผม
  7. คันจมูกและจามดี นำเมล็ดมาคั่วให้เกรียมบดให้ละเอียด นัตถุ์ทำให้คันจมูกและจามดี

ถิ่นกำเนิด :
ส้มป่อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

 





.