บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

สลอด


ชื่อสมุนไพร : สลอด
ชื่อเรียกอื่นๆ : บะกั้ง (แพร่), มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคืน (ภาคเหนือ), ลูกผลาญศัตรู, สลอดต้น, หมากหลอด (ภาคกลาง) และ หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium L.
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
วงศ์ : EUPHORBIACEAE



sa1

สลอดเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นพืชที่มีฤทธิ์ในการทำให้ถ่ายท้องอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามหากนำเอาสลอดมาใช้อย่างถูกวิธีก็สามารถใช้รักษาโรคได้นานาชนิด เช่น แก้โรคเรื้อน แก้เสมหะ แก้กลากเกลื้อน แก้คุดทะราด แก้ลมอัมพฤกษ์ ถ่ายโลหิต ถ่ายลมหรือถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น เพียงแต่การนำเอาสลอดมาใช้ต้องมีความรู้และต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงควบคู่ไปด้วย

สลอดพบทั่วไปในเขตร้อน เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา จีนและมาเลเซีย เจริญเติบโตได้ดีในที่ระดับความสูง 600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป สลอดจะออกดอกและติดผลได้ดีในช่วงกลางปีประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

ลักษณะสมุนไพร :

สลอดเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3-6 ม. ลำต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะรูปไข่ โดยปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบเป็นรอยหยักแบบซี่ฟัน เนื้อใบบาง แต่ละใบมีเส้นใบ 3-5 เส้น ก้านใบเรียวเล็ก ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีขนาดเล็ก มีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งอาจอยู่บนต้นเดียวกันหรืออยู่คนละต้นกันก็ได้ ดอกเพศผู้จะมีขนรูปดาวทั่วกลีบทั้งปลายกลีบ ขอบกลีบ และฐานกลีบ มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 4-6 กลีบ ในดอกเพศจะมีผู้เกสรเพศผู้อยู่จำนวนมาก โดยเกสรแต่ละก้านไม่ติดกัน และมีลักษณะโค้งเข้าข้างใน ส่วนดอกเพศเมียจะไม่มีกลีบดอกหรือถ้ามีก็มีขนาดเล็กมาก แต่จะมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ รังไข่มี 2-4 ช่อง ลักษณะผลเมื่อแก่จัดแห้งและแตกลักษณะทรงรีรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมนๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปขอบขนานแกมรูปรี

สลอดเป็นไม้พุ่มที่เจริญเติบโตได้ดีในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 600 เมตรขึ้นไป สลอดจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

 sl3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก ลำต้น

สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ  แก้ฝีตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม
  2. ดอก  แก้กลากเกลื้อน แก้คุดทะราด แก้ลมอัมพฤกษ์
  3. ผล แก้ลมอัมพฤกษ์
  4. เมล็ด เมล็ดมีพิษมากจะต้องฆ่าฤทธิ์ด้วยวิธีที่ถูกต้องเสียก่อน สามารถใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายพิษเสมหะ ถ่ายโลหิต ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายพยาธิในลำไส้ แก้การผิดปกติของประสาท แก้โรคลมชักบางชนิด แก้ท้องมาน และแก้โรคเก๊าท์
  5. เปลือกต้น แก้เสมหะในอกและลำคอ
  6. ราก แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิต ถ่ายลม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และแก้บวมน้ำ
  7. ลำต้น เนื้อไม้ของต้นช่วยทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ เป็นยาขับปัสสาวะ

ข้อควรระวังในการใช้สลอดคือ ทุกส่วนของต้นและเมล็ดล้วนมีพิษ เช่น ในใบสลอด มี hydrocynaic acid และ triperpinoid ส่วนในเมล็ด มี croton globulin และ croton albuminหากใช้มากไปอาจเกินอันตรายต่อร่างกายได้

slord

วิธีการใช้ :

  1. ยาถ่ายหรือยาระบาย คั่วเมล็ดจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน หรืออาจใส่เมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ เพื่อสลายพิษจึงนำมาใช้ผสมทำยา
  2. ขับปัสสาวะ นำรากหรือเนื้อไม้มาต้มน้ำดื่มรับประทาน
  3. แก้ฝีตะมอย ตำใบให้ละเอียด พอกบริเวณผิวหนังที่เป็น

ถิ่นกำเนิด :
สลอดพบทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา จีน และมาเลเซีย

 





.