บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยา

ลูกใต้ใบ


ชื่อสมุนไพร : ลูกใต้ใบ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ) และจูเกี๋ยเช่า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : phyllanthus amarus  Schum & Thonn.
ชื่อสามัญ : Egg Woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
LTB1
ลูกใต้ใบเป็นพืชที่ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรลูกใต้ใบมาผลิตเป็นยาสมุนไพรลูกใต้ใบแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งในรูปของแคปซูล ชนิดซอง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวกในการรับประทาน ประโยชน์ต้นลูกใต้ใบ ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีสารสกัดที่มีคุณค่าสูง เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการป้องกันและรักษาโรค และยังสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในสัตว์ได้อีกด้วย โดยสารสกัดด้วยเอทานอลของรากลูกใต้ใบชนิด P. amarus มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังสามารถช่วยลด Oxidative stress ได้เมื่อศึกษาในหลอดทดลอง ส่วนสารกสัดแบบน้ำชาของลูกใต้ใบก็พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน อีกทั้งลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของเลือด คล้ายกับยาแอสไพรินแต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า จึงอาจเป็นเหตุผลว่าหมอยาอายุระเวชไม่แนะนำให้กินลูกใต้ใบนาน ซึ่งในบางตำราก็ระบุไว้ว่าให้กินเพียง 1 สัปดาห์



 LTB3

ลักษณะสมุนไพร :
ลูกใต้ใบเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีก้านใบสั้นมาก และมีหูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักจะอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ โดยดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 อัน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย มีอับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบมีสีเขียวอ่อนนวล ผลมีขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร โดยผลมักจะเกาะติดอยู่บริเวณใต้โคนของใบย่อย และอยู่ในบริเวณกลางก้านใบ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยว 1 ส่วน 6 ของรูปทรงกลม มีสันตามยาวทางด้านหลัง และมีขนาดเล็กมาประมาณ 0.1 เซนติเมตร

 LTB4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก บำรุงร่างกาย
  2. ทั้งต้น บำรุงธาตุในร่างกาย เจริญอาหาร รักษาโรคตา ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด ช่วยรักษามาลาเรีย ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้หืด ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ
  3. ผล ช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี แก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด ช่วยแก้พิษตานซาง

 LTB2

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงร่างกาย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. บำรุงธาตุในร่างกาย เจริญอาหาร รักษาโรคตา ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด ช่วยรักษามาลาเรีย ช่วยแก้อาการไอ ช่วยแก้หืด ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับเสมหะ นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยบำรุงสายตา ทำให้สายตาดี แก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด ช่วยแก้พิษตานซาง นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ลูกใต้ใบเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย

 





.