บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ราชพฤกษ์


ชื่อสมุนไพร : ราชพฤกษ์
ชื่อเรียกอื่นๆ : กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย, ปีอยู, เปอโซ, แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ, ลักเคย (กะเหรี่ยง), ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง) และ ลมแล้ง (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thunb.
ชื่อสามัญ : Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-pine Tree และ Purging Cassia
วงศ์ : LEGUMINOSAE



RCHP2

ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในนามของ “ต้นคูน” สามารถพบเห็นได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ นิยมปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ บริเวณริมถนนข้างทาง และสถานที่อื่นๆ ตามประกาศของกรมป่าไม้จัดเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย และยังมีความเกี่ยวข้องกับประเพณีชาวไทยมาอย่างช้านาน เพราะเป็นไม้มงคลนามและใช้ในการประอบพิธีสำคัญๆ ต่างๆ หลายพิธีเช่น พิธีลงเสาหลักเมือง ทำคฑาจอมพล ใช้ทำยอดธงชัยเฉลิมพล เป็นต้น โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้เป็นยาสมุนไพร หรือนำมาใช้ทำเป็นสาบ้านเสาเรือนได้ ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้ได้ทั้งกับเด็ก สตรี รวมไปถึงผู้สูงอายุ โดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากนี้เนื้อของฝักแก่สามารถนำมาใช้แทนกากน้ำตาลในการทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยายได้

 RCHP4

ลักษณะสมุนไพร :
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยง มักขึ้นทั่วไปตามป่าผลัดใบ ลักษณะของใบออกเป็นช่อ ใบสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีใบย่อยเป็นไข่หรือรูปป้อมๆ ประมาณ 3-6 คู่ ใบย่อยมีความกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โคนใบมนและสอบไปทางปลายใบ เนื้อใบบางเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบถี่ และโค้งไปตามรูปใบ ออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 20-45 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกรูปขอบขนานมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย และกลีบดอกยาวกว่ากลีบรองดอกประมาณ 2-3 เท่า และมีกลีบรูปไข่จำนวน 5 กลีบ บริเวณพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน ที่ดอกมีเกสรตัวผู้ ขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 อัน มีก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น ดอกมักจะบานในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่ก็มีบางกรณีที่ออกดอกนอกฤดูเหมือนกัน เช่น ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ผลมีลักษะเป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยงๆ ฝักยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร และวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ราว 2-2.5 เซนติเมตร ฝักอ่อนจะมีสีเขียว ส่วนฝักแก่จัดจะมีสีดำ ในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆ กันอยู่เป็นช่องๆ ตามขวางของฝัก และในช่องจะมีเมล็ดสีน้ำตาลแบนๆ อยู่ มีขนาดประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร

 RCHP1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ดอก, เปลือก, แก่น, ราก, ฝักแก่, เปลือก, กระพี้ และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ ขับพยาธิ
  2. ดอก แก้บาดแผลเรื้อรัง
  3. เปลือก บำรุงโลหิต
  4. กระพี้ แก้โรครำมะนาด
  5. แก่น  ขับไส้เดือนในท้อง
  6. ราก แก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด
  7. เมล็ด รักษาโรคบิด
  8. ฝักแก่  ยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวนไม่ไซ้ท้อง

 RCHP3

วิธีการใช้ :

  1. ขับพยาธิ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้บาดแผลเรื้อรัง นำดอกมาตำแล้วพอกบริเวณแผล
  3. บำรุงโลหิต นำเปลือกแห้งมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้โรครำมะนาด นำกระพี้แห้งมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ขับไส้เดือนในท้อง  นำแก่นแห้งมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. แก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  7. รักษาโรคบิด นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  8. ยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวนไม่ไซ้ท้อง นำฝักแก่มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ราชพฤกษ์เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกา

 





.