ชื่อสมุนไพร : ยี่หร่า
ชื่อเรียกอื่นๆ : กะเพราญวณ (กรุงเทพมหานคร), จันทร์หอม, เนียม (เชียงใหม่), จันทร์ขี้ไก่, เนียมต้น (แม่ฮ่องสอน), สะหลีดี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมป้อม (ภาคเหนือ), โหระพาช้าง, กะเพราควาย (ภาคกลาง) และ หร่า (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum gratissimum Linn.
ชื่อสามัญ : Tree Basil, Clove Basil, Shrubby Basil, African Basil, Wild Basil, Kawawya, Caraway Friut, Caraway Seed, Kummel และ Caraway
วงศ์ : LAMIACEAE
ยี่หร่าเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันดีและอยู่คู่กับอาหารไทยมาช้านาน มักขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง การใช้ประโยชน์โดยนำมาเป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทยนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน และแกงกะหรี่ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงเมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ อีกทั้งมีสรรพคุณช่วยในการขับเหงื่อ ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการบำรุงธาตุ ขับลม แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืด และบรรเทาอาการคลื่นไส้ นอกจากนี้ใบยังมีสรรพคุณสามารถช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ลักษณะสมุนไพร :
ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ยัก ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน ดอกออกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก ผลหรือเมล็ด มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอสุกหรือแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :
- ราก ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยในการขับลมในลำไส้
- ใบ ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยในการขับลมในลำไส้ ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรี
- ผล ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
วิธีการใช้ :
- ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยในการขับลมในลำไส้ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยในการขับลมในลำไส้ ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรี นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ รับประทานสดๆ
- ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ นำผลแห้งประมาณ 3-5 กรัมนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตรทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง
ถิ่นกำเนิด :
ยี่หร่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอินเดีย
.