มันเทศ

ชื่อสมุนไพร : มันเทศ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ยอดมันเทศ (มุกดาหาร), มันหลา (ปัตตานี), ยอดมันหลอง (ภูเก็ต), มันแก๋วแดง (ภาคเหนือ),หมักอ้อย (ละว้า-เชียงใหม่), แตลอ (มลายู-นราธิวาส), มัน (ไทใหญ่), มันแก๋ว (ไทลื้อ), ฟั่นด้อย (เมี่ยน), ด่อมังปร้างเร่น (ปะหล่อง) และ ฮวงกั้ว (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas (Linn.) Lamk.
ชื่อสามัญ : Sweet Potato
วงศ์ CONVOLVULACEAE

MT2

มันเทศเป็นพืชหัวในดินผลหรือหัวของมันเทศนั้นจะอยู่ใต้ดิน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น หัว ใบ หรือเถา มันเทศมีรสชาติหวานอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว นิยมนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเพื่อเพิ่มความอร่อยของเมนูอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงมัสมั่น ซุปมันเทศมันเทศกวนสำหรับเด็ก ต้มน้ำขิงมันเทศ มันเทศทอด หรือของหวานอย่างมันเชื่อม นอกจากความอร่อยแล้วยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยสารอาหารที่พบมาก ก็คือ สารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบี11 ซึ่งที่มีบทบาทในการป้องกันโรคมะเร็งได้ดีที่สุด การรับประทานมั่นเทศบ่อยๆ จะมีส่วนช่วยรักษาความสมดุลของวิตามินบี11ในร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ส่วนสารเซลลูโรสในมันเทศ มีผลดีในการช่วยการเคลื่อนตัวของลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูกและโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย

 MT1

ลักษณะสมุนไพร :
มันเทศเป็นพืชไม้ล้มลุก มีความยาวได้ถึง 5 เมตร น้ำยางสีขาว ลำต้นทอดเลื้อย มีรากสะสมอาหารรูปทรงกระบอกแบบรากฝอย หัวเกิดจากการขยายตัวของรากเป็นส่วนที่สะสมแป้ง ลักษณะหัวเป็นรูปทรงกระบอก หัวเรียว ท้ายเรียว ส่วนตรงกลางป่องออก และสีผิวของหัวและสีของเนื้อในหัวแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีสีแดง สีเหลือง สีขาว หรือสีนวล และมักจะมีรากแขนงเกิดในร่องของหัว ผิวของหัวอาจจะเรียบหรือขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับบนข้อของลำต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่กว้างแกมรูปโล่ ขอบใบจะเว้าลึกเป็นแฉก 3-7 แฉก ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย และมักจะมีสีม่วงตามเส้นใบ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ มีก้านช่อดอกแข็งแรง มักจะยาวกว่าก้านใบ เกลี้ยงหรือมีขน ดอกย่อยมีหลายดอก กลีบดอกเป็นสีชมพูปนสีม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ผลมีเปลือกแข็งหุ้ม ลักษณะเป็นแบบแคปซูล มีช่อง 4 ช่อง เมล็ดค่อนข้างแบน ด้านหนึ่งของเมล็ดจะเรียบ ส่วนอีกด้านจะเป็นเหลี่ยม ส่วนเปลือกของเมล็ดค่อนข้างหนา

 MT4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : หัว, ราก, ใบ, ทั้งต้น และ เถา
สรรพคุณทางยา :

  1. หัว ลดไขมันในเลือดแก้กระหายน้ำแก้เมาคลื่นแก้บิดบำรุงม้ามไตแก้แผลไฟไหม้รักษาเริมและงูสวัดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราถอนพิษรักษาแผล ช่วยเร่งการสมานแผล
  2. ราก ยาระบายรักษาบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง
  3. ใบ ยาพอกฝีรักษาบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง
  4. ทั้งต้น ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
  5. เถา แก้ไขข้ออักเสบ

 MT3

วิธีการใช้ :

  1. ลดไขมันในเลือดแก้กระหายน้ำแก้เมาคลื่นแก้บิดบำรุงม้ามไตแก้แผลไฟไหม้รักษาเริมและงูสวัดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราถอนพิษรักษาแผล ช่วยเร่งการสมานแผล นำหัวปรุงเป็นอาหารรับประทาน หรือ ชงกับน้ำดื่ม หรือ คั้นน้ำจากหัวใช้เป็นยาทาแก้แผลไฟไหม้
  2. ยาระบายรักษาบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาพอกฝีรักษาบาดแผล แก้พิษแมลงป่อง นำใบตำพอกรักษาฝี หรือจะใช้ใบตำผสมกับเกลือใช้พอกฝี
  4. ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้ไขข้ออักเสบ นำเถามาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
มันเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy