บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

มะเม่า


ชื่อสมุนไพร : มะเม่า
ชื่อเรียกอื่นๆ : ต้นเม่า (ภาคกลาง), หมากเม่า (ภาคอีสาน), หมากเม้า, บ่าเหม้า (ภาคเหนือ), เม่า, หมากเม่าหลวง, มัดเซ และ เม่าเสี้ยน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma ghaesembilla Gaertn.
วงศ์ EUPHORBIACEAE



MM1

มะเม่าจัดเป็นพืชไม้ยืนต้นที่มักพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามไร่นาทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรีพบว่ามีต้นมะเม่าในป่าเป็นจำนวนมาก และมะเม่ายังจัดว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเทือกเขาภูพานของจังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายและหลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นหลายชนิด ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด รวมไปถึงยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสารที่สำคัญ ก็คือ สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก้ชราได้ และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย ทั้งยังมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

 MM3

ลักษณะสมุนไพร :
มะเม่าเป็นเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาวที่มีความสูงถึง 20 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กิ่งก้านมากและกิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็งใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกันมีสีเขียวสด ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน แผ่นใบกว้างรูปไข่ถึงรูปรีและบางคล้ายกระดาษถึงกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบออกหนาแน่นเป็นร่มเงาเส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบยาว ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ยอดและปลายกิ่งมีสีขาวอมเหลือง ช่อดอกคล้ายพริกไทย ลักษณะของดอกเป็นดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้นกันลักษณะของผลเป็นทรงกลมหรือรีและมีขนาดเล็กและเป็นพวง ผิวมีขน ผนังชั้นในแข็ง ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำในที่สุด โดยผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด เมล็ดกรุบกรับ ในหนึ่งผลจะมีหนึ่งเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

 MM2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก บำรุงไต ขับปัสสาวะ แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว
  2. เปลือกต้น ฝาดสมาน บำรุงกำลัง
  3. ใบ แก้อาการซีดเหลือง โลหิตจาง เลือดไหลเวียนไม่ดี แก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง ท้องบวม
  4. ผล แก้อาการปวดศีรษะ แก้รังแค แก้ช่องท้องบวม แก้อาการไข้ แก้อาการโลหิตจาง อาการซีด และเลือดไหลเวียนไม่ดี

 MM4

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงไต ขับปัสสาวะ แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ฝาดสมาน บำรุงกำลัง นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้ปวดศีรษะ แก้โรคผิวหนัง ท้องบวม นำใบมาตำแล้วทาบริเวณศรีษะ หรือ ผิวหนัง
  4. แก้อาการซีดเหลือง โลหิตจาง เลือดไหลเวียนไม่ดี นำใบหรือผลมาต้มแล้วนำมาอาบน้ำ
  5. แก้อาการปวดศีรษะ แก้รังแค แก้ช่องท้องบวม นำผลมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น
  6. รักษาโรคมะเร็ง ยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา นำผลมารับประทานสดๆหรือคั้นน้ำดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
มะเม่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชีย อัฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะอินโดนีเซียและเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

 





.