มะยม

ชื่อสมุนไพร : มะยม
ชื่อเรียกอื่นๆ : หมากยม, หมักยม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และ ยม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อสามัญ : Star Gooseberry
วงศ์ EUPHORBIACEEAE
MY1
มะยมจัดเป็นผลไม้ที่รู้จักกันดีและอยู่คนไทยมาอย่างช้านานด้วยรสชาติที่เปรี้ยวสะใจและสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายชนิดจึงเป็นที่นิยมบริโภคกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากการนิยมบริโภคกันแล้ว สำหรับความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุไว้ว่าให้ปลูกต้นมะยมในทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีมิร้ายมากล้ำกราย และเชื่อว่ามะยมเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า “นิยม” ซึ่งเชื่อว่าผู้ปลูกจะมีเมตตามหานิยม ทั้งยังมีสรรพคุณทางยามากมาย จึงเป็นที่มาของตำหรับยาของแพทย์แผนไทยที่ยกย่องให้มะยมเป็นพืชสมุนไพรชั้นดีเลยทีเดียว และในสมัยก่อนมะยมถือเป็นผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดของสาวๆที่นิยมนำมาขัดผิว เพราะมะยมมีวิตามินอีและซีในปริมาณสูงมากซึ่งเหมาะต่อการนำมาใช้เป็นผลิตภันฑ์เสริมความงาม โดยสารสำคัญที่อยู่ในผลมะยมส่วนหนึ่งสามารถช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ สารในกลุ่มแทนนิน อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดการอักเสบในร่างกายและช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ลดการสะสมของของเสียในลำไส้ ทั้งนี้ยังลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย แต่ข้อควรระวัง ก็คือ น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมนั้นจะมีพิษเล็กน้อย หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีอันตรายต่อร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงซึมได้

 MY2

ลักษณะสมุนไพร :
มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและแตกกิ่งก้านสาขาไปตามบริเวณปลายยอดโดยกิ่งก้านจะเปราะและแตกหักง่าย เปลือกลำต้นมีลักษณะขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวมที่มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านจะมีใบย่อยประมาณ 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณกิ่ง ดอกย่อยมีสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผลมะยมเมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อในมีความฉ่ำน้ำ เมล็ดภายในรูปร่างกลมและคอนข้างแข็งมีสีน้ำตาลอ่อนและมีจำนวน  1 เมล็ดผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด

 MY4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
  2. ใบ แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว หัด และ อีสุกอีใส
  3. ผล รักษาโรคมะเร็ง ช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ช่วยดับร้อนและปรับสมดุล ดับพิษเสมหะ ยาระบาย ยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงโลหิต

 MY3

วิธีการใช้ :

  1. แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว หัด และ อีสุกอีใส นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. รักษาโรคมะเร็ง ช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ช่วยดับร้อนและปรับสมดุล ดับพิษเสมหะยาระบาย นำผลมารับประทานสดๆ หรือคั้นเป็นน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยาอายุวัฒนะ นำผลแก้นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ช่วยบำรุงโลหิต นำผลมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ

ถิ่นกำเนิด :
มะยมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียใต้และทวีปอเมริกาเขตร้อน

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy