มะกล่ำเผือก

ชื่อสมุนไพร : มะกล่ำเผือก
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะกล่ำตาหนู, แปบฝาง (เชียงใหม่), คอกิ่ว, มะขามป่า (จันทบุรี), มะขามย่าน (ตรัง), โกยกุกเช่า (จีนแต้จิ๋ว) และ จีกู่เฉ่า (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abrus pulchellus Wall. Ex Thwaites subsp.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : LEGUMINOSAE

MaKP4

มะกล่ำเผือกเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกระตายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ  ใบใช้ตำพอแก้จุดด่างดำบนใบหน้า เมล็ดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง มีพิษแรง ถ้าเคี้ยวกินเพียง 1-2 เมล็ด อาจทำให้ตายได้ โดยสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 2 วัน ใบมะกล่ำเผือกมีสารให้ความหวานชื่อ glycyrrhizin ซึ่งมีความหวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50 เท่า ซึ่งอาจนำมาพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลทรายได้ ในใบพบสารรสหวานชื่อ Glycyrrhizin, Abrine และสาร Choline อีกทั้งยับพบสารจำพวก Flavonoid, Amino acid และมีกลูโคสกลูโคลิน รวมทั้งมีสารจำพวก Sterol อีกด้วย

 MaKP1

ลักษณะสมุนไพร :
มะกล่ำเผือกเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบางๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-7 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบเป็นติ่งหนามหรือมน โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 3.2-4.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร ใบประดับและใบประดับย่อยเป็นรูปไข่ ดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวปนสีชมพูอ่อน โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายเว้าเป็นรอยหยักตื้นๆ หรือเป็นปลายตัด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบกลางเป็นสีขาว ลักษณะเป็นรูปรี ปลายเว้าบุ๋ม โคนเป็นรูปลิ่ม ขอบเรียบ ส่วนกลีบคู่ด้านข้างเป็นสีชมพูอ่อน ลักษณะเป็นรูปเคียว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน มีขนสีเหลืองอ่อน ฝักแห้งแตกออกได้ ในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมรี แบนเล็กน้อย ผิวเงาเรียบ เมล็ดอ่อนเป็นสีขาว เมื่อสุกเป็นสีดำเข้มหรือสีเหลืองอ่อน

 MaKP2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น, ราก, ใบ และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :

  1. ทั้งต้น แก้อาการร้อนใน แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยลดความดันโลหิต ยาแก้อาการปวดกระเพาะ ยากล่อมตับ รักษาตับอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ตับแข็ง ท้องมาร ช่วยคลายและกระจายการคั่งของตับ รักษาตับอักเสบที่ติดเชื้อแบบดีซ่าน ยาขับความชื้น แก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นเกาะติด
  2. ราก ยาแก้หืด หลอดลมอักเสบ แก้ไอแห้ง แก้เจ็บคอ ช่วยกัดเสมหะ ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้ร้อนใน ยาแก้อาการปวดท้องและแก้จุกเสียด ยาขับปัสสาวะ
  3. ใบ ยาแก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ยาขับ แก้อาการปวดตามแนวประสาท ปวดบวมตามข้อ
  4. เมล็ด แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง บวมอักเสบ

 MaKP3

วิธีการใช้ :                                     

  1. แก้อาการร้อนใน แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยลดความดันโลหิต ยาแก้อาการปวดกระเพาะ ยากล่อมตับ รักษาตับอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ตับแข็ง ท้องมาร ช่วยคลายและกระจายการคั่งของตับ รักษาตับอักเสบที่ติดเชื้อแบบดีซ่าน ยาขับความชื้น แก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นเกาะติด นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาแก้หืด หลอดลมอักเสบ แก้ไอแห้ง แก้เจ็บคอ ช่วยกัดเสมหะ ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้ร้อนใน ยาแก้อาการปวดท้องและแก้จุกเสียด ยาขับปัสสาวะ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาแก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ยาขับ แก้อาการปวดตามแนวประสาท ปวดบวมตามข้อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง บวมอักเสบ นำเมล็ดมาบดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง บวมอักเสบ

ถิ่นกำเนิด :
มะกล่ำเผือกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy