บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

มะกล่ำต้น


ชื่อสมุนไพร : มะกล่ำต้น
ชื่อเรียกอื่นๆ : มะแค้ก, หมากแค้ก (แม่ฮ่องสอน), มะหล่าม (นครราชสีมา), บนซี (สตูล), ไพ (ปัตตานี), มะแดง, มะหัวแดง, มะโหกแดง (ภาคเหนือ), มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), หมากแค้ก, มะแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแค้กตาหนู (คนเมือง), กัวตีมเบล้ (ม้ง), ซอรี่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กล่องเคร็ด (ขมุ), ลิไพ และ ไพเงินก่ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina  L.
ชื่อสามัญ : Red Sandalwood Tree, Sandalwood Tree, Bead Tree และ Coralwood Tree
วงศ์ : LEGUMINOSAE



MGT1

มะกล่ำต้นเป็นไม้ผลัดใบระยะสั้นที่ชอบแสงแดดจัด พบมากตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-400 เมตร มีวิธีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และระบายน้ำได้ดี จัดเป็นต้นไม้ประจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีบางที่ปลูกต้นมะกล่ำต้นเป็นไม้ประดับ อีกทั้งยังมีประโยชน์โดยนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับอาหารได้หลายประเภท เช่น ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกงก็ได้ และเนื้อในเมล็ดมีรสมันสามารถนำมาคั่วรับประทานเป็นอาหารว่างได้ นอกจากจะมีประโยชน์ในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้ออีกด้วย

 MGT2

ลักษณะสมุนไพร :
มะกล่ำต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ออกเรียงสลับกัน รูปวงรี รูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ใบเรียบเกลี้ยง ก้านใบย่อยสั้น ไม่มีหูใบ ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก ออกดอกตามซอกใบช่วงบนหรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง และจะออกดอกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนอมสีครีม เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบแคบ ปลายกลีบแหลม ขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอด ก้านดอกสั้นเป็นทรง ผลเป็นรูปแถบแบนยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกกเป็นสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียวแน่นเพื่อกระจายเมล็ด และมีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน เมล็ดจะติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม แข็ง ผิวมัน และเป็นสีแดงเลือดนกหรือเป็นสีแดงส้ม

 MGT3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เมล็ด และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้โรคเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
  2. เมล็ด แก้ริดสีดวงทวารหนัก
  3. ใบ ยาเบื่อพยาธิ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ

 MGT4

วิธีการใช้ :

  1. แก้โรคเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้ริดสีดวงทวารหนัก นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาเบื่อพยาธิ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
มะกล่ำต้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.