บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

พุทธรักษา


ชื่อสมุนไพร : พุทธรักษา
ชื่อเรียกอื่นๆ : บัวละวงศ์ (ลำปาง), บัวละวง (ลพบุรี), พุทธศร (พายัพ), พุทธสร (ภาคเหนือ), สาคูหัวข่า,สาคูมอญ (ภาคกลาง), ปล้ะย่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กวงอิมเกีย, เซียวปาเจีย, มุยหยิ่งเจีย (จีน), เหม่ยเหยินเจียว และ เสี่ยวปาเจียว (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica Linn.
ชื่อสามัญ : Indian Shot, India Short Plant, India Shoot, Butsarana, Cannas และ Canna Lily
วงศ์ : CANNACEAE



PTRS4

พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร ชอบแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน พุทธรักษาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าเมืองไทยหลายชนิด โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าดงดิบแล้งในที่ลุ่ม หรือตามลำห้วย นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามริมสวนน้ำ ริมคูน้ำที่โล่งแจ้ง ตามร่องระบายน้ำ ริมถนนทางเดิน หรือปลูกลงในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนก็ได้ ดอกพุทธรักษาสามารถนำมาสกัดสีทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ แต่จะติดสีไม่มากนักและสีไม่สด และนิยมใช้ตัดดอกปักแจกัน เหง้าสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายแบบ เช่นเดียวกับเผือกและมัน

 PTRS3

ลักษณะสมุนไพร :
พุทธรักษาเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปรีแกมขอบขนานกว้าง หรือเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นสีเขียว สีแดง สีเขียวขลิบแดง หรือสีม่วงเข้ม ภายในเป็นสีอมม่วงแดง ดอกจะมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีแดง สีแดงอมเหลือง สีส้ม สีเหลือง สีชมพู สีขาว ฯลฯ สามารถออกดอกได้คลอดปี โดยจะออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ช่อหนึ่งมีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยหลายดอก ประมาณ 8-10 ดอก ช่อดอกมีรูปคล้ายทรงกระบอก ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นพู 3 พู ผลมีขนาดเท่ากับผลมะไฟ ผิวผลขรุขระ เปลือกนอกเป็นสีเขียวและมีขนหรือหนามอ่อนๆ คล้ายกับลูกละหุ่งหรือลูกเร่ว โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดสีขาวหลายเมล็ด พอแก่เป็นสีน้ำตาล มัน

 PTRS1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เมล็ด, ดอก, เหง้า และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. เมล็ด แก้อาการปวดศีรษะ
  2. ดอก ยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น ยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต
  3. เหง้า ยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ แก้วัณโรค แก้อาการไอ ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด และไอมีเลือด ช่วยแก้อาการปวดฟัน ยาบำรุงปอด ยาแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้โรคบิด บิดเรื้อรัง ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่หยุดของสตรี ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้โรคตับอักเสบ แก้ตับอักเสบติดเชื้อ ตับอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง
  4. ใบ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย

 PTRS5

วิธีการใช้ :                                     

  1. แก้อาการปวดศีรษะ นำเมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้พอกบริเวณขมับแก้อาการปวดศีรษะ
  2. ยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น ยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ แก้วัณโรค แก้อาการไอ ยาแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด และไอมีเลือด ช่วยแก้อาการปวดฟัน ยาบำรุงปอด ยาแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้โรคบิด บิดเรื้อรัง ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่หยุดของสตรี ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้โรคตับอักเสบ แก้ตับอักเสบติดเชื้อ ตับอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง นำเหง้าสดนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย นำใบมาต้มกับน้ำ รับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
พุทธรักษาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา

 





.