พลับพลา

ชื่อสมุนไพร : พลับพลา
ชื่อเรียกอื่นๆ : หลาย (แม่ฮ่องสอน), กะปกกะปู (พิษณุโลก), สากกะเบือละว้า (สุโขทัย), คอมขน (ชัยภูมิ), มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด), พลาขาว (ชุมพร), พลาลาย (ตรัง), พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง), ขี้เถ้า (ภาคกลาง), กอม, กะปกกะปู, คอม, พลา, ลาย, สากกะเบือดง, สากกะเบือละว้า, หมากหอม (ภาคเหนือ), คอมเกลี้ยง, พลองส้ม (ภาคตะวันออก) และ ตานกกด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microcos paniculata Linn.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : MALVACEAE

PPR5

พลับพลาเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบผสม และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-300 เมตร บ้างก็ว่า 100-600 เมตร  ไม้พลับพลา เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายแม่เป็นไม้สด คนใต้สมัยก่อนจึงนิยมนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพ และใช้ในการอยู่ไฟของสตรีคลอดบุตรใหม่ๆ ส่วนน้ำมันยางจากเปลือก ก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เนื้อไม้มีความทนทานสูงจึงนิยมนำมาใช้เป็นทำเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้ทำเครื่องเรือน เปลือกให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกแบบหยาบๆได้ และผลดิบใช้เป็นของเล่นเด็ก ที่เรียกว่า “บั้งโผ๊ะ” หรือ “ฉับโผง” โดยนำมาใช้ทำเป็นกระสุนยิงจากกระบอกไม้ไผ่  ส่วนผลสุกสามารถใช้รับประทานได้

 PPR4

ลักษณะสมุนไพร :
พลับพลาเป็นไม้ยืนต้นหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 15 ต้น ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและแตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกด้านในเป็นสีชมพู และมีเส้นใยเรียงตัวเป็นชั้น ที่กิ่งอ่อนและก้านใบจะมีขนลักษณะเป็นรูปดาวอยู่หนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบสอบมนหรือกลม ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อยและไม่เป็นระเบียบที่ปลายใบส่วนกลางและโคนใบ ขอบเรียบ ปลายใบมีติ่งแหลมสั้นๆ ดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ลักษณะของดอกตูมกลม มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลือง ส่วนก้านและแกนช่อดอกมีขนอยู่หนาแน่น ส่วนใบประดับเป็นรูปแถบหรือเป็นรูปใบหอก มีความยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร และมีขนอยู่หนาแน่น ส่วนก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ แยกออกจากกันเป็นอิสระ ผลเป็นรูปทรงกลมแกมรูปไข่กลับ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผลผนังชั้นในแข็ง ผนังของผลลักษณะคล้ายแผ่นหนัง มีขน ผลเมื่อแก่เป็นสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด

 PPR3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : แก่น, เปลือกต้น, ผลแก่ และ ลำต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. แก่น ช่วยแก้หืด
  2. เปลือกต้น ยาบำรุงโลหิตสตรี ทำลายพิษจองต้นยางน่อง
  3. ผลแก่ ช่วยกระจายโลหิต ยาระบาย
  4. ลำต้น ยาประกอบรักษาโรคลำไส้

 PPR2

วิธีการใช้ :                                     

  1. ช่วยแก้หืด นำแก่นพลับพลา ผสมกับแก่นโมกหลวง แก่นจำปา ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ลำต้นสบู่ขาว ลำต้นพลองเหมือด และลำต้นคำรอก นำมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  2. ยาบำรุงโลหิตสตรี ทำลายพิษจองต้นยางน่อง นำเปลือกต้นใช้ผสมปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ทำลายพิษจองต้นยางน่อง
  3. ช่วยกระจายโลหิต ยาระบาย นำผลแก่มารับประทาน
  4. ยาประกอบรักษาโรคลำไส้ นำลำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 PPR6

ถิ่นกำเนิด :
พลับพลาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย กัมพูชา จีน ไปจนถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy