ฝาง

ชื่อสมุนไพร : ฝาง
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขวาง, ฝางแดง, หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ฝางเสน (ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาคกลาง), ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ), สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน), ซูมู่ และ ซูฟังมู่ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อสามัญ : Sappan และ Sappan Tree
วงศ์ LEGUMINOSAE (FABACEAE)

F3

ฝางเป็นพืชไม้กลางแจ้งและจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ซึ่งมักจะพบได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน ส่วนใหญ่นิยมนำแก่นมาสกัดสีออกเป็นสีแดงและสีเหลือง เนื่องจากฝางมีด้วยกัน 2 ชนิดโดยชนิดหนึ่งจะมีแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า “ฝางเสน”  อีกชนิดหนึ่งเป็นแก่นสีเหลือง เรียกว่า “ฝางส้ม”  ซึ่งนำมาสกัดให้ได้สีเหลืองสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ส่วนฝางเสนนำมาสกัดแดงสำหรับย้อมผ้าไหม แต่งสีอาหาร และทำน้ำยาอุทัยซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ช่วยให้กระปรี้กระเปร่าและคลายร้อน ทั้งยังมีประโยชน์โดยนำไปผสมกับตัวยาสมุนไพรต่างๆได้มากมายเพื่อรักษาโรคต่างๆ เนื่องจากมีองค์ประกอบภายในเป็นสาร Brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝางจะมีฤทธิ์ระงับการอักเสบได้ดี จึงมีผลทำให้ระงับอาการหอบหืดได้ด้วย รวมทั้งสารนี้ยังสามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างสาร Histamine จึงน่าจะช่วยป้องกันโรคหืดได้ นอกจากนี้ยังมีสาร Sappanin ในแก่นฝางมีฤทธิ์ในการระงับเชื้อโรคได้สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และยีสต์ ช่วยยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการแพ้ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยับยั้งโรคมะเร็งได้อีกด้วย แต่ข้อควรระวังในการใช้ก็คือฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือนและยับยั้งการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

 F2

ลักษณะสมุนไพร :
ฝางเป็นเป็นไม้ยืนต้นหรือเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งโค้งสั้นๆ ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวาน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ มีช่อใบย่อยประมาณ 8-15 คู่ และในแต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 5-18 คู่ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบย่อยกลมถึงเว้าตื้น โคนใบตัดและเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ไม่มีก้านใบ และมีหูใบ หลุดร่วงได้ง่าย ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนงโดยออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกยาว มีใบประดับเป็นรูปใบหอก ปลายเรียวแหลมและมีขน ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ที่ขอบมีขนครุย ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองมี 5 กลีบ ลักษณะรูปไข่กลับ ผิวและขอบกลีบย่น กลีบด้านในมีขน เกสรเพศผู้ 10 อันแยกจากกัน ส่วนก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ ผลสีน้ำตาลเข้ม เป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปรี

 F1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : แก่น, เมล็ด และ เปลือกลำต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. แก่น รักษาโรคมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด แก้โรคผิวหนังบางชนิด ฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง
  2. เมล็ด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  3. เปลือกลำต้น รักษาวัณโรค

 F4

วิธีการใช้ :

  1. รักษาโรคมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด นำแก่นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาโรคความดันโลหิตสูง นำเมล็ดแก่แห้งมาไปต้มกับน้ำ ดื่มรับประทานหรืออาจบดเป็นผงกิน
  3. รักษาวัณโรค นำเปลือกลำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 ต้นฝาง

ถิ่นกำเนิด :
ฝางเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy