บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ผักบุ้งรั้ว


ชื่อสมุนไพร : ผักบุ้งรั้ว
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักบุ้งฝรั่ง (กรุงเทพฯ), โหงวเหยียวเล้ง (จีนแต้จิ๋ว), อู่จ่าวหลง, อู๋จว่าหลง และ อู๋จว่าจินหลง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea cairica (L.) Sweet.
ชื่อสามัญ : Railway Creeper
วงศ์ : CONVOLVULACEAE



PBR1

ผักบุ้งรั้วจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ซึ่งความน่าสนใจของไม้เถาชนิดนี้คือ เป็นไม้เถ้าขนาดเล็ก มีเถายาวสามารถเลื้อยพาดพันไปบนรั้ว สิ่งก่อสร้าง หรือบนค้างได้ดี แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ลักษณะเป็นรูปฝ่ามือดูเด่นชัดและสวยงาม ให้ดอกตลอดทั้งปี ดอกมีสีม่วงสวยสดใส ออกดอกดกและทนทานพอสมควรกว่าดอกจะร่วงโรย ใบบางท้องถิ่นจะนำผักบุ้งรั้วมาใช้ปรุงเป็นอาหาร ส่วนในฮาวายจะนำรากมาบริโภคเป็นอาหาร ถึงแม้ว่ามันจะมีรสขมก็ตาม

 PBR2

ลักษณะสมุนไพร :
ผักบุ้งรั้วเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาล้มลุก มีเง้า ลำต้นสามารถเลื้อยไปได้ยาวและไกลประมาณ 5 เมตร ลำต้นเป็นปล้องๆ สีเขียวหรือสีเขียวอมเทา ตามลำต้นจะมีตุ่มเล็กๆ ติดอยู่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อของต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ แยกออกเป็น 5 แฉก แฉกลึกถึงโคน แฉกกลางมีขนาดใหญ่กว่า แต่ละแฉกมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปแกมใบหอก ปลายใบแต่ละแฉกมีลักษณะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนาดยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ ใบที่โคนมักแยกออกเป็นแฉก ก้านใบยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร ก้านใบมีตุ่มเล็กๆ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือยอดต้น มีดอกประมาณ 1-3 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ลักษณะของดอกเป็นรูปแตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ พบผลได้ในดอก เมื่อดอกร่วงโรยไปก็จะติดผล ผลเป็นแบบแคปซูล มีลักษณะกลม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลเมื่อแก่จะแห้งและแตกออก ภายในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมและสั้น ด้านหนึ่งเป็นแง่ง เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีดำ มีขนาดเส้นประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนนุ่มสีขาวหนาแน่น ขอบมีขนยาว

 PBR3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น, เมล็ด และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ทั้งต้น ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย แก้ไอ แก้ไอร้อนในปอด ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด แก้ฝีบวม ฝีหนองภายนอก แก้ผดผื่นคัน
  2. เมล็ด ยาถ่าย แก้ฟกช้ำ
  3. ใบ แก้ผดผื่นคัน

 PBR5

วิธีการใช้ :

  1. ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย แก้ไอ แก้ไอร้อนในปอด ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่วที่ถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือด นำทั้งต้นประมาณ 30-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อย แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่มรับประทาน
  2. แก้ฝีบวม ฝีหนองภายนอก แก้ผดผื่นคัน นำต้นสดมาตำพอกบริเวณที่เป็น
  3. ยาถ่าย แก้ฟกช้ำ นำเมล็ดมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน หรือ ตำพอกแก้ฟกช้ำ
  4. แก้ผดผื่นคัน นำใบมาตำพอกบริเวณที่เป็น

 PBR6

ถิ่นกำเนิด :
ผักบุ้งรั้วเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

 





.