บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

ผักชี


ชื่อสมุนไพร : ผักชี
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักหอม (นครพนม), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักหอมป้อม, ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ยำแย้ (กระบี่)และ ผักชีลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Coriandrum sativum  L.
ชื่อสามัญ : Coriander, Chinese Parsley
วงศ์ :  UMBELIFERAE
PC5
ผักชีเป็นไม้ล้มลุกพันธุ์พื้นเมืองของประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน นิยมปลูกมากในทวีปยุโรป อินเดีย อเมริกาใต้ และในประเทศไทย โดยในประเทศไทยสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาค แต่จะปลูกมากในแถบจังหวัดราชบุรี นครปฐม และเขตปริมณฑล ผักชีถือเป็นพืชที่มีจุดเด่นในด้านกลิ่นหอมและสีสันสวยงาม  จึงนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและใช้โรยหน้าอาหารเพื่อตกแต่งอาหารให้ดูสวยงามน่ารับประทาน ในด้านสรรพคุณ ผักชีมีส่วนช่วยในการขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้ปวดหัว ลดไข้ แก้บิด แก้หัด ลดผดผื่น และแก้ริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าสารอาหารอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม และเส้นใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อกระดูก ความดันโลหิต และระบบขับถ่ายในร่างกาย  ในด้านการนำไปใช้ ผักชีเป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของใบและก้านใบ ส่วนต้นและรากจะใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อประกอบอาหาร รากผักชีใช้สำหรับหมักเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาว และยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอม ให้แก่อาหารได้อีกด้วย โดยมากนิยมใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องแกงต่าง ๆ ผักดอง และยังสามารถใช้แต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์จำพวกเบเกอรี่อย่างคุกกี้ เค้ก และขนมปัง



 PC2

ลักษณะสมุนไพร :
ผักชีเป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรงและมีกิ่งก้านขนาดเล็ก ไม่มีขน ลำต้นมีสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมน้ำตาล ภายในลำต้นกลวง ลำต้นสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ส่วนรากของต้นผักชีมีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยกระจายไปโดยรอบจำนวนมาก  ใบมีสีเขียวสด ออกเรียงคล้ายขนนกรูปทรงพัด โดยใบที่โคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น  ดอกออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของต้น  ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบ 5 กลีบ กลีบมีสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล  ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น ผลมีกลิ่นหอม รสซ่าอ่อน โดยผักชีจะติดผลในช่วงฤดูหนาว  และเจริญเติบโตเร็วมาก ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วน ที่มีการระบายน้ำดี ถือเป็นผักอายุสั้น  เพียงแค่ 30-35 วันก็สามารถเก็บผลผลิตได้

 PC3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผล, เมล็ด และ ต้นสด
สรรพคุณทางยา :

  1. ผล แก้โรคบิดหรือถ่ายเป็นเลือด ช่วยถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร  บำรุงกระเพาะอาหาร และแก้ท้องอืดเฟ้อ
  2. เมล็ด แก้ปวดฟัน หรืออาการเจ็บปาก
  3. ต้นสด แก้หัด ช่วยละลายเสมหะ ขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และแก้ผื่นแดงไฟลามทุ่ง

ข้อควรระวัง คือ การรับประทานมากจนเกินไปจะทำให้กลิ่นตัวแรง ตาลาย และ หลงลืมง่าย

PC1

วิธีการใช้ :

  1. แก้บิด ตำผลผสมน้ำตาลทรายและน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร บดผลสดให้แตก ผสมเหล้าดื่มวันละ 3-5 ครั้ง หรือใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่มรับประทาน
  3. แก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้ผลประมาน 2 ช้อนชาต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้ผื่นแดงไฟลามทุ่งหรือเร่งผื่นหัดให้ออกเร็วขึ้น หั่นต้นสดให้เป็นฝอย ใส่เหล้า ต้มให้เดือด แล้วนำมาทาบริเวณแผล
  5. แก้ปวดฟัน ต้มเมล็ดในน้ำเดือด เคี่ยวจนงวด แล้วใช้น้ำอมบ้วนปาก
  6. แก้หัดหรือผื่น ต้มต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม หรือต้นสด  60-150 กรัม กับน้ำ แล้วคั้นเเฉพาะน้ำมาดื่มรับประทาน หรือใช้ทาภายนอก

ถิ่นกำเนิด :
ผักชีมีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน

 





.