ประดู่ป่า

ชื่อสมุนไพร : ประดู่ป่า
ชื่อเรียกอื่นๆ : ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี), ดู่, ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่ (ภาคกลาง), จิต๊อก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ตะเลอ, เตอะเลอ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) และ ฉะนอง (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz
ชื่อสามัญ : Burmese Padauk, Burmese Ebony, Burma Padauk และ Narva
วงศ์ : LEGUMINOSAE

PDP4

ประดู่ป่าจัดเป็นพืชที่ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติเขตร้อน สามารถขึ้นได้ตามไหล่เขา ที่ราบ ยอดเขาเตี้ยๆ ใกล้บริเวณแหล่งน้ำที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย ดินตะกอน หรือดินที่เกิดจากภูเขาไฟ มีความลึก และระบายน้ำได้ดี ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่มีคุณภาพดี มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้ละเอียดปานกลาง ปลวกไม่ทำลาย มีเนื้อไม้ที่มีสรสวยและลวดลายสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐ

PDP3

ลักษณะสมุนไพร :
ประดู่ป่าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ไม่แผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรงมีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำแตกเป็นระแหงทั่วไป ส่วนเปลือกในชั้นในมีน้ำเลี้ยงสีแดงดูแตกเป็นช่องไม่เหมือนกับต้นประดู่บ้าน กิ่งก้านมีลักษณะต้นขึ้น กิ่งและก้านอ่อนมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ส่วนกิ่งแก่ผิวจะเกลี้ยง มีรากตอนโคนต้นเป็นสันนูนขึ้นมาเหนือพื้นดิน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปค่อนข้างมน หรือรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ส่วนใบแก่จะเกลี้ยง ผิวใบจะมีขนสั้นๆ ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง รูปร่างของดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบติดกัน และอันล่าง 3 กลีบติดกัน ผลเป็นฝักกลมแบน มีปีกคล้ายจานบิน ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา ตรงกลางมีเปลือกคลุม แข็งและหนา มีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลแดง

PDP2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้น, แก่น, ผล และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงร่างกาย ยาแก้ท้องเสีย ยาสมานบาดแผล
  2. แก่น ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ช่วยแก้โลหิตจาง ยาแก้กษัย ยาแก้ไข้ ยาแก้เสมหะ แก้โลหิตและกำเดา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ผื่นคัน ยาแก้คุดทะราด ยาแก้พิษเมาเบื่อ
  3. ผล ยาแก้อาเจียน ยาแก้ท้องร่วง
  4. ใบ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน

 PDP1

วิธีการใช้ :                                     

  1. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงร่างกาย ยาแก้ท้องเสีย ยาสมานบาดแผล นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ช่วยแก้โลหิตจาง ยาแก้กษัย ยาแก้ไข้ ยาแก้เสมหะ แก้โลหิตและกำเดา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ผื่นคัน ยาแก้คุดทะราด ยาแก้พิษเมาเบื่อ นำแก่นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. ยาแก้อาเจียน ยาแก้ท้องร่วง นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นำใบประดู่ป่า 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น
  5. รักษาฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน นำใบมาพอกฝีให้สุกเร็ว ใช้พอกบาดแผล หรือพอกแก้ผดผื่นคัน

ถิ่นกำเนิด :
ประดู่ป่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และประเทศแถบทะเลอันดามัน เบงกอลตะวันตก

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy