ตำแยแมว

ชื่อสมุนไพร : ตำแยแมว
ชื่อเรียกอื่นๆ : หานแมว (ภาคเหนือ), ตำแยตัวผู้, ตำแยป่า, หญ้าแมว และ หญ้ายาแมว (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha indica Linn.
ชื่อสามัญ : Indian Acalypha, Indian Nettle, Indian Copperleaf และ Tree-seeded  Mercury
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
TYMW1
ตำแยแมวเป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ซึ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและการแยกต้น ชอบขึ้นตามที่ดินเย็นๆ พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่าๆ ผุๆ โดยทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี มีผู้ค้นพบว่าในขณะที่แมวไม่สบายหรือมีไข้ หากมันได้เคี้ยวลำต้นของตำแยแมวเข้าไป ไม่นานก็จะหายจากอาการไข้ได้ และในขณะเดียวกันถ้าแมวนั้นกินสารที่มีพิษเข้าไป ก็แก้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไป แล้วมันก็จะอาเจียนหรือสำรอกพิษออกมา จึงเป็นการช่วยถอนพิษในแมวได้ ทำให้มันกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ฉะนั้นคนส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกตำแยตัวผู้ว่า “ตำแยแมว”  ประโยชน์ของใบสดใช้ปรุงเป็นอาหารได้ เช่น แกงเลียง เป็นต้น

 TYMW2

ลักษณะสมุนไพร :
ตำแยแมวพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2 ฟุต แตกกิ่งก้านจากโคนต้น เนื้อภายในอ่อนและไม่แข็งแรง ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่าใบพุทราเล็กน้อย ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปกลมโต ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบ ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ด้านบนมีขนขึ้นปกคลุม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ รอบๆ ลำต้น ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย ลักษณะของดอกจะคล้ายกับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่เมื่อบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังคงติดอยู่และไม่ร่วง มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับจะหุ้มห่อดอก 2-6 ดอก

 TYMW3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ ต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก  ขับเสมหะ เสมหะในโรคหอบหืด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เป็นยาถ่าย ยาระบาย บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็ง ช่วยกระจายเลือดลม แก้อาการปวดเมื่อย และช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศ
  2. ใบ ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย เป็นยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลเนื่องจากนอนมาก
  3. ต้น ทำให้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด รักษาโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ล้างเมือกในท้องหรือทำความสะอาดทางเดินอาหาร ด้วยการนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ ซึ่งน้ำที่ได้นี้จะใช้เป็น purgative เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร

 TYMW4

วิธีการใช้ :

  1. ขับเสมหะ เสมหะในโรคหอบหืด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เป็นยาถ่าย ยาระบาย บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็ง ช่วยกระจายเลือดลม แก้อาการปวดเมื่อย และช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศ นำรากมาต้มกับน้ำ ต้มรับประทาน
  2. ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด นำใช้ใบสดๆ นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ให้เหลือเพียง 2 ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย เช้าและเย็น
  3. แก้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย นำใบสดมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ หรือนำมาต้มกิน หรือจะใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียมก็ได้
  4. เป็นยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร รักษาโรคผิวหนัง นำใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเกลือแกง ใช้ทาบริเวณที่เป็น
  5. รักษาแผลเนื่องจากนอนมาก นำใบแห้งนำมาป่นให้ละเอียดใช้โรยรักษาแผล
  6. ทำให้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด รักษาโรคหอบหืด ภูมิแพ้ นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่มสัก 1 แก้ว ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ แก้วเดียวก็หาย หรือจะนำมาโขลกผสมกับน้ำซาวข้าว กรองใส่ผ้าขาวบางให้ได้น้ำข้นๆ 1 แก้ว แล้วดื่ม
  7. ล้างเมือกในท้องหรือทำความสะอาดทางเดินอาหาร นำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ
  8. เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ตำแยแมวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy