บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ตะขบฝรั่ง


ชื่อสมุนไพร : ตะขบฝรั่ง
ชื่อเรียกอื่นๆ : เพี่ยนหม่าย(เมี่ยน), ตากบ(ม้ง), หม่ากตะโก่เสะ(กะเหรี่ยงแดง), ตะขบ (กลาง), ครบฝรั่ง (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntingia calabura L.
ชื่อสามัญ : Governor Plum
วงศ์ TILIACEAE
TKF1
ตะขบฝรั่งเป็นพืชผลไม้ตระกูลเบอรี่ของไทยที่อยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ถือเป็นต้นไม้โตเร็วและให้ร่มเงา กิ่งก้านแผ่ออกกว้างส่งผลให้บริเวณใต้ต้นตะขบนั้นจะเป็นที่บังแดดให้ความร่มรื่นในยามแดดจัดได้ดี และยังถือได้อีกว่าเป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูงชนิดหนึ่งโดยใน 100 กรัมหรือประมาณ 25 ผล จะมีใยอาหารมากกว่า 6 กรัม เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันอยู่ที่ 25 กรัม ดังนั้นการกินตะขบ 1 ถ้วยจะเท่ากับได้ปริมาณ 1 ใน 4 ของใยอาหารที่แนะนำเลยทีเดียว อีกทั้งมีงานวิจัยต่างๆที่สนับสนุนว่าตะขบฝรั่งนั้นเป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม และโปแตสเซียมสูง จึงมีความสามารถในการดูดซับคลอเรสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ และลดความเสี่ยงของอาการเส้นเลือดสมองแตกก็ว่าได้ นอกจากนี้ตะขบฝรั่งยังมีสารที่ให้สีแดงที่เรียกว่าสารไลโคปีน ทั้งยังมีกรดเอลลาจิก แอนโธไซยานิน และกรดแกลลิก ที่ช่วยทำให้ระบบการทำงานของต่อมลูกหมากดีขึ้น รวมทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด รวมไปถึงปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะช่วยดูแลหัวใจ แพทย์แผนไทยมีการนำตะขบฝรั่งมาใช้ในการรักษาอาการไข้ และเป็นยาบำรุงกำลังอีกด้วย



 TKF2

ลักษณะสมุนไพร :
ตะขบฝรั่งเป็นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงประมาณ 5-7 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีจะมีขนนุ่มปกคลุม และปลายเป็นตุ่ม เมื่อจับยอดอ่อนจะรู้สึกว่าเหนียวมือ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่น เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง ผลทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อดิบสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน เมล็ดขนาดเล็ก ๆ มีจำนวนมาก

 TKF3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกลำต้น, ใบ, ดอก และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก กล่อมเสมหะ และอาจม
  2. เปลือกลำต้น ช่วยเป็นยาระบาย
  3. ใบ ช่วยขับเหงื่อ
  4. ดอก แก้ปวดศรีษะ แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการไข้
  5. ผล ต้านโรคมะเร็ง บำรุงกำลัง  ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ  

TKF4
วิธีการใช้ :

  1. กล่อมเสมหะ และอาจม นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาระบาย นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยขับเหงื่อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้ปวดศรีษะ แก้หวัด แก้ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการไข้  นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ต้านโรคมะเร็ง บำรุงกำลัง  ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ  นำผลสดๆมารับประทานหรือคั้นกับน้ำ

ถิ่นกำเนิด :
ตะขบฝรั่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเหนือของเม็กซิโก บริเวณทะเลแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ฝั่งตะวันตก จนถึงเปรูและโบลิเวีย

 





.