บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ชะเอมเทศ


ชื่อสมุนไพร : ชะเอมเทศ
ชื่อเรียกอื่นๆ : กำเช่า, กำเช้า (จีน-แต้จิ๋ว), กันเฉ่า (จีนกลาง) และ ชะเอมจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycyrrhiza glabra Linn.
ชื่อสามัญ : Licorice, Chinese Licorice, Russian Licorice และ Spanish Licorice
วงศ์ LEGUMINOSAE



CHAT2

ชะเอมเทศเป็นพืชในวงศ์เดียวกับถั่วต่างๆ จัดว่าเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในประเทศจีนว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรที่ช่วยขจัดพิษ ซึ่งการรับประทานเป็นประจำในปริมาณน้อยๆ จะช่วยกำจัดพิษที่สะสมในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิษที่สะสมในเลือดและตับ และเมื่อเทียบกับสมุนไพรชนิดอื่นแล้วชะเอมเทศนั้นจะมีรสชาติที่อ่อนนุ่มและไม่มีผลข้างเคียง จึงเป็นที่นิยมนำมาช่วยขจัดสารพิษมากกว่าสมุนไพรชนิดอื่น อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในด้านเป็นยาขับเสมหะ นำมาทำเป็นน้ำชาแก้อาการไอและอาการเจ็บระคายคอ และนิยมนำมาใช้เพื่อช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ เนื่องจากสารที่สำคัญที่อยู่ในชะเอมเทศ ก็คือ “ไกลเซอไรซิน” ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50-100 เท่า ทั้งยังมีกรดกลีเซอเรตินิคซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในไขกระดูกชนิด Oberling-Guerin ที่ได้เพาะเลี้ยงในไขกระดูกของหนูใหญ่สีขาวอีกด้วย นอกจากนี้สำนักงานวิจัยโรคมะเร็งของอังกฤษ ระบุว่า ชะเอมเทศสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ สอดคล้องกับสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐพบว่าสารสกัดจากชะเอมเทศช่วยป้องกันการทำลายของรังสียูวีและลดผลกระทบจากแดดเผาได้

 CHAT1

ลักษณะสมุนไพร :
ชะเอมเทศเป็นไม้พุ่มล้มลุกที่มีอายุนานหลายปี มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นและก้านใบมีขนปกคลุม บางครั้งหยาบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก ใบเป็นรูปขอบขนานถึงรูปไข่แกมรูปรี ปลายทู่ ช่อดอกยืดยาว ดอกออกเป็นช่อเรียงหลวมๆ มีต่อม กลีบดอกเป็นสีน้ำเงินอ่อนถึงสีม่วง มีความยาวได้ถึง 12 มิลลิเมตร ส่วนก้านดอกสั้นมาก  ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายถั่ว รูปขอบขนาน มีลักษณะตรงและมีความยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ผิวภายนอกมีลักษณะเรียบเกลี้ยงหรือมีขนแข็ง ฝักอ่อนจะมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออกเมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลแก่

 CHAT3

CHAT4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น, ใบ, ดอก และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก บำรุงปอด ขับเลือดที่เน่าในท้อง รักษาพิษยาหรือพืชพิษต่าง ๆ รักษาอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตรากตรำทำงานหนัก ปวดท้อง ไอเป็นไข้ สงบประสาท รักษาอาการเจ็บคอ รักษาแผลเรื้อรัง รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ และรักษากำเดาให้เป็นปกติ
  2. เปลือกต้น ยาบำรุงกำลัง ช่วยให้คลื่นเหียนอาเจียน
  3. ใบ ช่วยให้เสมหะแห้ง ยารักษาดีพิการ
  4. ดอก รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ
  5. ผล ยาบำรุงกำลัง บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มชื้น

 CHAT5

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงปอด ขับเลือดที่เน่าในท้อง รักษาพิษยาหรือพืชพิษต่าง ๆ รักษาอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตรากตรำทำงานหนัก ปวดท้อง ไอเป็นไข้ สงบประสาท รักษาอาการเจ็บคอ รักษาแผลเรื้อรัง รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ และรักษากำเดาให้เป็นปกติ นำรากมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาบำรุงกำลัง ช่วยให้คลื่นเหียนอาเจียน นำเปลือกต้นมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยให้เสมหะแห้ง ยารักษาดีพิการ นำใบสดมาต้มเอาน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ นำดอกมาตำแล้วทาบริเวณคัน หรือ ต้มดื่มรับประทาน
  5. ยาบำรุงกำลัง บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มชื้น นำผลสดมารับประทาน หรือ ผลแห้งต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 CHAT6

ถิ่นกำเนิด :
ชะเอมเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน

 





.