บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

จำปา


ชื่อสมุนไพร : จำปา
ชื่อเรียกอื่นๆ : จำปากอ (มลายู-ใต้), จำปาเขา, จำปาทอง (นครศรีธรรมราช), จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี), จัมปา และ มณฑาดอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Michelia champaca  L.
ชื่อสามัญ : Champaka, Orange Chempaka และ Sonchampa
วงศ์ : MAGNOLIACEAE



 JP1

จำปาเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค เช่น ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ ถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลียวิงเวียน แก้ไข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาส่วนต่างๆของต้นจำปามาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องใช้หรือทำเครื่องประดับ

ลักษณะสมุนไพร :
จำปาเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นกลม ตรง เรือนยอดเป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ กิ่งค่อนข้างเปราะ ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย ลำต้นและกิ่งมีเส้นควั่นเป็นรอย และมีตุ่มเล็กๆที่บริเวณผิว ใบมีสีเขียวขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ท้องใบด้านล่างมีขนอ่อน
ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม  โคนใบกลมมนหรือสอบ ขนาดใบกว้าง 4–10 ซม. ยาว 5–20 ซม.  เส้นแขนงของใบมี 16–20 คู่ ก้านใบยาว 2–4 ซม. ต้นจำปาออกดอกค่อนข้างดก ออกดอกได้ตลอดทั้งปี ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ดอกมีสีเหลืองส้ม ออกตามซอกใบหรือง่ามใบ กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อน เมื่อดอกบานจะมีลักษณะตั้งขึ้นและส่งกลิ่นหอมแรง กลีบดอกและกลีบเลี้ยงรวมกันมี 12-15 กลีบ กลีบดอกด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปหอกกลับ ขนาดยาว 4–4.5 ซม. กว้าง 1–1.5 ซม. ลักษณะกลีบยาว ปลายเรียว กลีบดอกชั้นในแคบและสั้นกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ มีสีเหลืองอมส้ม รังไข่อยู่รวมกันมีลักษณะเป็นแท่งสีเขียวอ่อน ก้านดอกยาวประมาณ 1–2 ซม. เวลาดอกบานกลีบจะโค้งงอเข้าภายในดอก ผลดอกจำปาเป็นผลกลุ่ม ประกอบด้วยผลย่อย 8-40 ผลอยู่รอบแกนเดียวกัน ผลย่อยมีลักษณะกลมรีรูปไข่ เปลือกหนาแข็ง มีช่องอากาศเป็นจุดเล็กสีขาวอยู่ทั่วไป ขนาดผลย่อยกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม.ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีน้ำตาลและแห้งแตกด้านข้าง เมล็ดมีลักษณะเป็นเสี้ยววงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. โดยหากเป็นเมล็ดอ่อนจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว ส่วนเมล็ดแก่จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง แต่ละผลมีเมล็ดย่อย 1-6 เมล็ด

จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบน้ำขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ขยายพันธุ์ได้ด้วยการตอนกิ่ง

JP2

JP4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, ดอก, เปลือกต้น, เปลือกราก, กระพี้, เนื้อไม้, ราก, ผล, เมล็ด และ น้ำมันกลั่นจากดอก
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ  แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของเด็กทารก
  2. ดอก ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ แก้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย แก้อ่อนเพลีย กระจายโลหิต แก้โรคเรื้อน บำรุงหัวใจและบำรุงธาตุ
  3. เปลือกต้น ใช้แก้ไข้ แก้เสมหะ ช่วยขับปัสสาวะและใช้เป็นยาถ่าย
  4. เปลือกราก ใช้เป็นยาถ่าย รักษาโรคปวดข้อ  และช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  5. กระพี้  ถอนพิษผิดสำแดง
  6. เนื้อไม้ บำรุงโลหิตหรือประจำเดือนสตรี
  7. ราก ช่วยขับโลหิตประจำเดือนและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
  8. ผลและเมล็ด ช่วยบำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้แผลที่เท้าและเท้าแตก
  9. น้ำมันกลั่นจากดอก แก้ปวดศีรษะ และแก้อาการตาบวม

JP3

วิธีการใช้ :

  1. รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ตำใบให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ดื่มรับประทาน
  2. บ่มฝี นำรากแห้งและเปลือกหุ้มรากผสมกับนมสำหรับบ่มฝี
  3. บำรุงหัวใจ ใช้ดอกแห้งมาปรุงเป็นยาหอม
  4. แก้ไข้ ใช้เปลือกลำต้นต้มน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ขับประจำเดือน ใช้เนื้อไม้ต้มน้ำ ดื่มรับประทาน

 JP5

ถิ่นกำเนิด :
จำปามีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และแถบประเทศอื่นในทวีปเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน

 





.