บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยา

จันทน์ลูกหอม


ชื่อสมุนไพร : จันทน์ลูกหอม
ชื่อเรียกอื่นๆ : จัน, อิน, จันอินจันโอ, จันอิน, จันลูกหอม, จันท์ลูกหอม, จันขาว, ลูกจัน, ลูกอิน, จันอิน, ลูกจันทน์, ลูกจันทร์, ต้นจัน และ ดาวเรืองอเมริกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour.
ชื่อสามัญ : Gold Apple
วงศ์ : EBENACEAE



JLH2

จันทน์ลูกหอมเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะศูนย์พันธุ์ นิยมปลูกไว้ตามวัด นับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อมๆขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า “ลูกอิน” แต่อีกผลลูกแบนๆแป้นๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า “ลูกจัน” ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร  เนื้อไม้เป็นไม้ที่มีลวดลายสวยงาม ทำให้เป็นที่นิยมในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ประดับตกแต่ง เนื้อไม้แข็งจึงมักถูกตัดนำมาทำเป็นฟืนเป็นถ่าน แต่ในปัจจุบันนี้จัดเป็นไม้หวงห้ามไปแล้ว เพราะหายากและใกล้ศูนย์พันธุ์ ผลสุกจะมีรสหวานและฝาดเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือนำไปแปรรูปเป็นของหวาน จากงานศึกษาวิจัยผลไม้ในไทยพบว่าน้ำผลไม้ไทยจากลูกอินจัน มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงได้

 JLH1

ลักษณะสมุนไพร :
จันทน์ลูกหอมเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร เรือนยอดเป็นทรงกลมหรือทรงกระสวย หนาทึบ ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้มอมเทาหรือดำแตกเป็นสะเก็ด เนื้อไม้สีขาว ส่วนกิ่งอ่อนยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และมีกิ่งก้านเหนียว ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับกัน ใบคล้ายรูปรี โคนใบมน ปลายใบสอบหรือแหลม แผ่นใบเรียบบางเป็นมันลื่น ขอบใบเรียบ ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ตามส่วนต่างๆมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบเรียงเป็นรูปถ้วยแต่ไม่เชื่อมกัน ส่วนกลีบดอกมี 4-5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามกิ่งเล็กๆ กลับดอกและกลีบเลี้ยงจะเหมือนดอกเพศผู้แต่ใบใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกลมแป้นไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดลีบ ผลมีรอยบุ๋มตรงกลาง รสฝาดหวานมีกลิ่นหอม จะเรียกว่า ลูกจัน ส่วนผลที่มีลักษณะของผลเป็นรูปกลมและมีเมล็ด 2-3 เมล็ด ไม่มีรอยบุ๋ม

JLH3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้ และ ผลสุก
สรรพคุณทางยา :

  1. เนื้อไม้  ทำให้เกิดปัญญา บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ
  2. ผลสุก ช่วยบำรุงกำลังให้สดชื่น ช่วยแก้อาการท้องเสีย แก้อาการนอนไม่หลับ อาการกระสับกระส่าย

 JLH4

วิธีการใช้ :

  1. ทำให้เกิดปัญญา บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ นำเนื้อไม้ต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ช่วยบำรุงกำลังให้สดชื่น ช่วยแก้อาการท้องเสีย แก้อาการนอนไม่หลับ อาการกระสับกระส่าย นำผลสุก มารับประทานสดๆ

 JLH6

ถิ่นกำเนิด :
จันทน์ลูกหอมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

 





.