บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

คะน้า


ชื่อสมุนไพร : คะน้า
ชื่อเรียกอื่นๆ ผักคะน้า, ไก่หลันไช่ (จีนกวางตุ้ง) และ กำหนำ (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica alboglabra
ชื่อสามัญ : Kai-Lan, Chinese Broccoli และ Chinese Kale
วงศ์ : BRASSICACEAE



KNA1

คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานทั่วไป จัดเป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน เป็นผักที่หาซื้อง่ายราคาไม่แพง แต่ควรระวังในการบริโภคนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดิน คุณค่าทางโภชนาการในคะน้าพบว่ามีวิตามินหลายชนิด เช่น บีตา-แคโรทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสารเบต้าแคโรทีนรวมกับวิตามินซี จะกลายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมาก และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกอีกด้วย โดยการรับประทานคะน้า 1 ถ้วย จะได้รับแคลเซียมพอ ๆ กับการดื่มนม 1 แก้ว  ทั้งยังให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และยังเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะโฟเลตกับสารอินโดลส์ (indoles) ที่มีอยู่ในคะน้ายังป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก แต่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เนื่องจาก มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้

 KNA2

ลักษณะสมุนไพร :
คะน้าเป็นพืชที่มีอายุแค่ปีเดียว ไม่มีเนื้อไม้ สามารถสูงได้ถึง 40 เซนติเมตร และสูง 1-2 เมตรเมื่อช่อดอกเจริญเติบโตเต็มที่ ผิวส่วนต่างๆ ของลำต้นมีลักษณะเรียบ และมีนวลจับ ระบบรากเป็นแบบรากแก้ว มีรากแขนงที่แข็งแรง มีลำต้นหลักหนึ่งต้น มีกิ่งแขนงผอมๆ เจริญออกมาทางด้านข้าง หรือส่วนบนของลำต้น การเรียงใบแบบสลับ แผ่นใบหนาแข็งมีก้านใบ ใบกว้างรูปไข่จนถึงเกือบกลม ขอบใบแบบหยักซี่ฟันและมีลักษณะเป็นคลื่นที่โคนใบมีติ่งยื่นออกมาทั้งสองด้าน ใบที่อยู่ทางด้านล่างมีขนาดเล็ก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว อาจพบดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ดอกมี 4 ส่วนครบ มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน ผลแตกแบบผักกาดค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดมีรอยบุ๋มขนาดเล็ก

 KNA3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ และ ก้านใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบและก้านใบ บำรุงผิวพรรณบำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ต้านทานการติดเชื้อ สร้างเม็ดเลือดแดงช่วยบำรุงโลหิตช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาอาการไมเกรน ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ช่วยป้องกันโรคท้องผูก

 KNA4

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงผิวพรรณ บำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ต้านทานการติดเชื้อ สร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาอาการไมเกรน ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ช่วยป้องกันโรคท้องผูก นำใบและก้านมาประกอบอาหารรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
คะน้าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย

 





.