บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ข้าวเย็นเหนือ


ชื่อสมุนไพร : ข้าวเย็นเหนือ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ข้าวเย็นโคกแดง, ค้อนกระแต, หัวข้าวเย็นเหนือ, หัวข้าวเย็นวอก, ยาหัวข้อ (อุบลราชธานี), หัวยาข้าวเย็น, ข้าวเย็นวอก (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์เหนือ (ภาคใต้), เสี้ยมโค่ฮก, เสี้ยมโถ่ฮก (จีนแต้จิ๋ว), ถู่ฝุหลิง และ หงถู่หลิง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Smilax corbularia Kunth.และSmilax microchina T. koyama
ชื่อสามัญ : Smilax
วงศ์ SMILACEAE



 KYN3

ข้าวเย็นเหนือเป็นสมุนไพรไทยที่มักพบตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดินและเจริญเติบโตและระบายน้ำได้ดีในดินร่วน ถือเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาได้ยากก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมที่อยู่ในตำรับยาไทยที่ขึ้นทะเบียนจากกระทรวงสาธารณสุขว่าสามารถรักษามะเร็ง โรคน้ำเหลืองเสีย โรคเรื้อน โรคผิวหนัง กามโรค โรคไขข้อ โรคติดเชื้อ เป็นต้น สำหรับการรักษาโรคมะเร็งนั้น พบว่าอาจารย์อุดม ลดหวั่น แพทย์แผนไทย จากสวนสมุนไพรพรอุดม ในจังหวัดชลบุรี ได้กล่าวว่า สมุนไพรที่ปลูกไว้รักษามะเร็งหนึ่งหนึ่งในนั้นเป็นข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาสวนสมุนไพรมักเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการหนักและแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้ จึงหันมาเลือกใช้วิธีแพทย์ทางเลือกด้วยสมุนไพร โดยข้าวเย็นเหนือมีฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์ HIV-1 integrase ซึ่งต้องใช้คู่กับข้าวเย็นใต้ก็เนื่องจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีสรรพคุณที่เสมอกันเพื่อให้เสริมฤทธิ์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

KYN4

ลักษณะสมุนไพร :
ข้าวเย็นเหนือเป็นไม้เถาเนื้อแข็งที่เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน สามารถเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นลักษณะกลมหรือเหลี่ยมเล็กน้อย เถามีหนามแหลมที่โคนใบยอดอ่อนโดยมีมือเป็นเส้น 2 เส้น ไว้ยึด มีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากจำนวนมาก หัวลักษณะกลมยาวเป็นท่อนๆละประมาณ 5-15 ซม. เนื้อไม้แข็งสีแดงและขรุขระ ส่วนเนื้อในเหง้าเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีแดงน้ำตาลอ่อน เนื้อละเอียดมีรสมัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปรียาวหรือรูปกลมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ กว้าง 2.5-7 ซม. และยาว 5-18 ซม.หน้าใบสีเขียว หลังใบมีขนสีขาว แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว มือจับยาวถึง 12 ซม.ดอกสีเขียวปนขาวออกเป็นช่อตามซอกใบจำนวน 1-3 ช่อ ขนาดเล็ก ก้านช่อดอกสั้น กลีบรวม 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรี เกสรเพศผู้มีจำนวน 6 อัน รังไข่เป็นรูปรี มี 3 มีเกสรเพศผู้รูปคล้ายเข็มทีเป็นหมัน 3 อัน ผลทรงกลมและมีเนื้อ ผิวของผลจะมีผงแป้งสีขาวปกคลุม ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ดเวลาสุกจะเป็นสีม่วงดำ

 KYN2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, หัว, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้พุพอง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ แก้พยาธิในท้อง
  2. หัว แก้มะเร็ง แก้เส้นพิการ น้ำเหลืองเสีย กามโรค ฝีเปื่อย พุพอง และต้นแก้อัมพาตแก้ประดง คุดทะราด น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะ
  3. ใบ แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต
  4. ผล แก้ลมริดสีดวง

 KYN1

วิธีการใช้ :

  1. แก้พุพอง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ แก้พยาธิในท้อง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้มะเร็ง นำหัวบดให้ละเอียดผสมกับส้มโมงแล้วต้มจนแห้ง ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานวันละ 1 เม็ด สามารถออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม
  3. แก้เส้นพิการ น้ำเหลืองเสีย กามโรค ฝีเปื่อย พุพอง และต้นแก้อัมพาตแก้ประดง คุดทะราด น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะ นำหัวมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้ลมริดสีดวง นำผลมารับประทานสดๆ

ถิ่นกำเนิด :
ข้าวเย็นเหนือเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.