ข่าต้น

ชื่อสมุนไพร : ข่าต้น
ชื่อเรียกอื่นๆ : เทพทาโร (ปราจีนบุรี), กะเพาะต้น, กระเพราต้น, พลูต้น (สระบุรี), มือแดกะมางิง, มือแดกะมาริง (ปัตตานี), ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะไคหอม, จะไคต้น, จะไค้ต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), จวง, ไม้จวง, จวงหอม (ภาคใต้), เซียงจาง และ หวางจาง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum parthenoxylon (Jack.) Messn.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : LAURACEAE

Katon4

ข่าต้นเป็นพรรณไม้ที่มีกลิ่นของต้นคล้ายกลิ่นการบูรหรือคล้ายกลิ่นของต้นเทพทาโร พบขึ้นทั่วไปตามป่าเชิงเขา มีมากตามเชิงเขาสระบาปและบ้านอ่างจังหวัดจันทบุรี และตามป่าจังหวัดปราจีน สระบุรี ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดปราจีนบุรีจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “เทพทาโร” กลับกันกับจังหวัดอื่นๆ ประโยชน์โดยใช้ทำเป็นไม้ตีพริก เพื่อทำให้พริกมีกลิ่นหอม และใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ด้วย ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของข่าต้น ในใบข่าต้นพบน้ำมันระเหย 2.6-3.3% มีส่วนประกอบเช่น การบูร น้ำมันเขียว น้ำมันไพล น้ำมันสน เป็นต้น และในเมล็ด กิ่ง เปลือกต้น และรากข่าต้น พบน้ำมันระเหยประมาณ 2-4% ในน้ำมันระเหยพบ Safrale 60-95%, Eugenol (น้ำมันกานพลู), Cinnamic Aldehyde และ B-pinene Phellandrene ตำรับยาแก้บิด จะใช้เมล็ดข่าต้นประมาณ 5-8 กรัม นำมาต้มกับใบยูคาลิปตัสประมาณ 6-8 กรัม รับประทาน ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ อาการไอเรื้อรัง ตัวร้อน ออกหัดตัวร้อน ให้ใช้เมล็ดข่าต้นประมาณ 5-6 กรัม นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำรับประทาน

 Katon1

ลักษณะสมุนไพร :
ข่าต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจสูงได้ถึง 25 เมตร เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ และมีกลิ่นหอมฉุน ร้อนๆ ออกใบดกและหนาทึบเป็นไม้ร่มได้ดี ใบเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และขนาดยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายขนนก เรียงเป็นคู่ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งขนาดเล็ก อกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม กลีบดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกนั้นมีลักษณะเป็นรูปไข่ สีขาวอมเขียว ภายในดอกมีขนเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดจะมีสีแดง รูปเป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม

 Katon2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เมล็ด, เนื้อไม้ และ ราก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องน้อย ยาแก้ฟกช้ำ ไขข้ออักเสบ เนื่องจากมีลมชื้นเกาะติดภายใน
  2. เนื้อไม้ ยาบำรุงธาตุ ยาหอมลม รักษาท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด ยาขับลมในลำไส้ ยารักษาฝีลม ยาช่วยขับโลหิตและน้ำเหลือง
  3. เมล็ด ยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ อาการไอเรื้อรัง ตัวร้อน ออกหัดตัวร้อน ยาแก้บิด

 Katon3

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องน้อย ยาแก้ฟกช้ำ ไขข้ออักเสบ เนื่องจากมีลมชื้นเกาะติดภายใน นำรากใช้ดองกับเหล้ารับประทาน
  2. ยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ อาการไอเรื้อรัง ตัวร้อน ออกหัดตัวร้อน นำเมล็ดข่าต้นประมาณ 5-6 กรัม นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำรับประทาน
  3. ยาแก้บิด นำเมล็ดข่าต้นประมาณ 5-8 กรัม นำมาต้มกับใบยูคาลิปตัสประมาณ 6-8 กรัม รับประทาน
  4. ยาบำรุงธาตุ ยาหอมลม รักษาท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด ยาขับลมในลำไส้ ยารักษาฝีลม ยาช่วยขับโลหิตและน้ำเหลือง นำเนื้อไม้ต้มกับน้ำดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ข่าต้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy