ขี้ครอก

ชื่อสมุนไพร : ขี้ครอก
ชื่อเรียกอื่นๆ : ชบาป่า (น่าน), ขี้หมู (นครราชสีมา), ขมงดง (สุโขทัย), ปอเส้ง (ปัตตานี), หญ้าผมยุ่ง, หญ้าอียู, ขี้คาก (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ขี้ครอก (ภาคกลาง), ปอเส็ง, เส็ง, เส้ง, ปูลู (ภาคใต้), หญ้าหัวยุ่ง (ชาน-แม่ฮ่องสอน), บอเทอ, ปะเทาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปูลุ (มลายู-นราธิวาส), ทอมทัก (ลั้วะ), ซัวโบ๋เท้า (จีน) และ ตี้เถาฮวา (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urena lobata Linn.
ชื่อสามัญ : Caesar Weed, Hibiscus Burr และ Jute Africain
วงศ์ : MALVACEAE

KKO3

ขี้ครอกเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นตามป่าราบและที่ลุ่มรกร้างทั่วไป และมีปลูกมากตามสวนยาจีนทั่วไป ประโยชน์ของขี้ครอกโดยชาวลั้วะจะใช้ลำต้นของขี้ครอกนำมาทำเป็นไม้กวาด ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้ครอก นั่นก็คือ สารสกัดจากราก ผล และใบขี้ครอก มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา และ สารสกัดจากเมล็ดขี้ครอกด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราได้ดีมาก

 KKO4

ลักษณะสมุนไพร :
ขี้ครอกเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง เปลือกเหนียว ลำต้นเป็นสีเขียวแกมเทา ตามลำต้นและกิ่งก้านมีขนลักษณะเป็นรูปดาวปกคลุมทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบที่อยู่บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ปลายแยกออกเป็นแฉกตื้นๆ 3 แฉก โคนใบกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ส่วนใบที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของลำต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ และใบที่อยู่ส่วนยอดหรือใกล้ยอดจะเป็นรูปกลมยาวถึงรูปใบหอก ผิวใบด้านบนมีขนนุ่ม ส่วนด้านล่างมีขนรูปดาวสีขาวอมเทา ท้องใบด้านล่างจะมีสีอ่อนกว่าหลังด้านบนใบ มีเส้นใบ 3-7 เส้น มีขนรูปดาวสีขาวอมเทา หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ออกดอกเดี่ยวรูปไข่กลม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบประมาณ 2-3 ดอก ริ้วประดับติดกันเป็นรูประฆัง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดสั้นกว่าริ้วประดับ ทั้งกลีบเลี้ยงและริ้วประดับจะมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ส่วนกลีบดอกเป็นสีชมพูมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ผลมีลักษณะกลมหรือรูปกลมแป้น มีขนขึ้นรูปดาวขึ้นปกคลุม ผลมีหนามแข็งสั้นหัวลูกศรและมีน้ำเหนียวติด เมื่อผลแห้งจะแตกออกได้เป็นพู 5 พู แต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด
KKO5
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด ยาแก้บิด รักษาโรคบิดเฉียบพลัน ยาแก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี แก้หนองใน ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากลมชื้นเข้าแทรก ยาพอกแก้โรคปวดข้อ
  2. ต้น ยากระจายเลือดลม ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด ยาขับปัสสาวะ ยาแก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี ยาแก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย ยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด แก้ฟกช้ำดำยาใบ กระจายเลือดลม ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ดับพิษเสมหะ ยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี ยาแก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากลมชื้นเข้าแทรก

 KKO6

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด ยาแก้บิด รักษาโรคบิดเฉียบพลัน ยาแก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี แก้หนองใน ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากลมชื้นเข้าแทรก ยาพอกแก้โรคปวดข้อ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยากระจายเลือดลม ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด ยาขับปัสสาวะ ยาแก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี ยาแก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย ยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด แก้ฟกช้ำดำยา นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. กระจายเลือดลม ยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ดับพิษเสมหะ ยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี ยาแก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย ยาขับลมชื้นในร่างกาย ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากลมชื้นเข้าแทรก นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 KKO1

ถิ่นกำเนิด :
ขี้ครอกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy