บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยา

ขันทองพยาบาท


ชื่อสมุนไพร : ขันทองพยาบาท
ชื่อเรียกอื่นๆ : ดูกใส (อีสาน), ยางปลอก, ยายปลวก, ฮ่อสะพานควาย (แพร่), ขันทองพยาบาท (ภาคกลาง), ดูกหิน (สระบุรี), ข้าวตาก (กาญจนบุรี), มะดูกเลื่อม (เหนือ), ขันทอง (พิษณุโลก), ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์), กระดูก (ใต้), ป่าช้าหมอง, ดูกไทร, ขอบนางนั่ง, สลอดน้ำ, มะดูกดง, ข้าวตาก, ขนุนดง และ เจิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.
ชื่อสามัญ : Suregada Multiflorum
วงศ์ : EUPHORBIACEAE



 KTP5

ขันทองพยาบาทเป็นพืชที่พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดงดิบที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร โดยจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และกลายเป็นผลช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน จัดว่าเป็นสมุนไพรที่เข้าตำรับยารักษาโรคมะเร็งขนานหนึ่งอีกทั้งยังเป็นที่นิยมของหมอพื้นบ้านที่นำมาทำสูตรยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง จากการวิเคราะห์ตำรับยานั้นพบว่าสมุนไพรชนิดนี้ใช้เป็นตัวยาหลัก  และมีงานวิจัยหลายงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศระบุว่าขันทองพยาบาทมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ผลดี นอกเหนือจากจะมีสรรพคุณในเรื่องการรักษามะเร็งแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาถ่าย ยาระบาย ยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกแข็งแรง ทำให้ฟันทน แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค เนื้อไม้ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ อีกด้วย

KTP2

ลักษณะสมุนไพร :
ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม.  ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม. มีสีเขียวอมเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ใบประดับเป็นรูปหอกยาวประมาณ 1 มม.ตรงปลายจะแหลม ก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 มม. และกลีบรองกลีบดอก จะมี 5กลีบ เรียงซ้อนกันอยู่ ลักษณะคล้ายรูปหอกยาวประมาณ 1 มม.ขอบจักเป็นซี่ฟัน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ความกว้าง 6-7 มม.และความยาว 3 มม. ตรงโคนสอบแคบ ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู จำนวน 3 พู มีติ่งเล็กๆที่ยอด เมล็ดค่อนข้างกลมมีสีน้ำตาลเข้ม มีเนื้อบางๆสีขาว หุ้มเมล็ด

KTP4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น และ เนื้อไม้
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย
  2. เปลือกต้น แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน รักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ แก้ประดง ถ่ายน้ำเหลือง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค
  3. เนื้อไม้ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ

 KTP1

วิธีการใช้ :

  1. แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย  นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษรักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ แก้ประดง ถ่ายน้ำเหลือง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน นำเปลือกต้นมาตำละเอียด แล้วพอกปิดแผล
  4. แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ นำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

 KTP3

ถิ่นกำเนิด :
ขันทองพยาบาทเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน และคาบสมุทรมลายู

 





.