ชื่อสมุนไพร : ขันทองพยาบาท
ชื่อเรียกอื่นๆ : ดูกใส (อีสาน), ยางปลอก, ยายปลวก, ฮ่อสะพานควาย (แพร่), ขันทองพยาบาท (ภาคกลาง), ดูกหิน (สระบุรี), ข้าวตาก (กาญจนบุรี), มะดูกเลื่อม (เหนือ), ขันทอง (พิษณุโลก), ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์), กระดูก (ใต้), ป่าช้าหมอง, ดูกไทร, ขอบนางนั่ง, สลอดน้ำ, มะดูกดง, ข้าวตาก, ขนุนดง และ เจิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.
ชื่อสามัญ : Suregada Multiflorum
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ขันทองพยาบาทเป็นพืชที่พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าดงดิบที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร โดยจะออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และกลายเป็นผลช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน จัดว่าเป็นสมุนไพรที่เข้าตำรับยารักษาโรคมะเร็งขนานหนึ่งอีกทั้งยังเป็นที่นิยมของหมอพื้นบ้านที่นำมาทำสูตรยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง จากการวิเคราะห์ตำรับยานั้นพบว่าสมุนไพรชนิดนี้ใช้เป็นตัวยาหลัก และมีงานวิจัยหลายงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศระบุว่าขันทองพยาบาทมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ผลดี นอกเหนือจากจะมีสรรพคุณในเรื่องการรักษามะเร็งแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาถ่าย ยาระบาย ยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกแข็งแรง ทำให้ฟันทน แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค เนื้อไม้ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ อีกด้วย
ลักษณะสมุนไพร :
ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม. มีสีเขียวอมเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ใบประดับเป็นรูปหอกยาวประมาณ 1 มม.ตรงปลายจะแหลม ก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 มม. และกลีบรองกลีบดอก จะมี 5กลีบ เรียงซ้อนกันอยู่ ลักษณะคล้ายรูปหอกยาวประมาณ 1 มม.ขอบจักเป็นซี่ฟัน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ความกว้าง 6-7 มม.และความยาว 3 มม. ตรงโคนสอบแคบ ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู จำนวน 3 พู มีติ่งเล็กๆที่ยอด เมล็ดค่อนข้างกลมมีสีน้ำตาลเข้ม มีเนื้อบางๆสีขาว หุ้มเมล็ด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น และ เนื้อไม้
สรรพคุณทางยา :
- ราก แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย
- เปลือกต้น แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษ แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน รักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ แก้ประดง ถ่ายน้ำเหลือง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค
- เนื้อไม้ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ
วิธีการใช้ :
- แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้โรคตับพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมเป็นพิษรักษามะเร็ง รักษามะเร็งคุด เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุงเหงือก แก้เหงือกอักเสบ แก้ประดง ถ่ายน้ำเหลือง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- แก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน นำเปลือกต้นมาตำละเอียด แล้วพอกปิดแผล
- แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ นำเนื้อไม้มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
ถิ่นกำเนิด :
ขันทองพยาบาทเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน และคาบสมุทรมลายู
.