บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

กระท้อน


ชื่อสมุนไพร : กระท้อน
ชื่อเรียกอื่นๆ : สะตู, สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน, สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ) และ มะต้อง (อุดรธานี,ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.
ชื่อสามัญ : Cottonfruit, Santol, Sentul, Red Sentol, Yellow Sentol
วงศ์ : MELIACEAE
KTON1
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นที่มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมนั้นเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มีรสหวาน ได้แก่ สายพันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย ทับทิม อินทรชิต นิ่มนวล ขันทอง เทพรส อีแดง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองนั้นจะมีรสเปรี้ยว ผลดกแต่มีขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาทำเป็น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนดอง จัดเป็นผลไม้ที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง จึงไม่ค่อยเหมาะนักสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว จึงต้องควบคุมการรับประทานโพแทสเซียมเป็นพิเศษ ประโยชน์ของกระท้อน กระท้อนเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์เย็น จึงเหมาะกับผู้ที่เกิดในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ซึ่งธาตุเจ้าเรือนอยู่ในธาตุน้ำ อีกทั้งผลใช้รับประทานเป็นอาหาร ใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลากชนิด เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ผัด ตำกระท้อน ส่วนอาหารหวานก็เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน หรือใช้กินเป็นผลไม้สดก็ได้เช่นกัน ประโยชน์กระท้อน ส่วนลำต้นสามารถใช้ทำเป็นไม้ใช้สอยต่างๆ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น



 KTON3

ลักษณะสมุนไพร :
กระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม้ไม่ผลัดใบมีความสูงประมาณ 15-40 เมตร ลำต้นเป็นต้นเปลา ลักษณะตั้งตรง แตกกิ่งก้านต่ำ เปลือกลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลและค่อนข้างเรียบ ใบแก่จัดจะมีสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบเป็นใบประกอบแบบเป็นช่อโดยมีความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว มีสามใบย่อย ยาว 18-40 ซม. ก้านใบยาว 7.5-16 ซม. แบน เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล ใบย่อยรูปไข่ ใบที่ปลายกว้าง 5-14 ซม. ยาว 8-20 ซม. ใบด้านข้างมักจะเล็กและแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ดอกช่อออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบที่ปลายๆ ยอด ช่อตั้งตรง หรือห้อยลงเล็กน้อย ช่อมีความยาว 5-15 เซนติเมตร แกนกลางช่อมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล ใบประดับยาวประมาณ 7มม. รูปสามเหลี่ยม แคบ มีขนนุ่มสั้นหนาแน่น หลุดร่วงง่าย กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ หรือใบหอกกลับ ลักษณะดอกเล็กมีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกเป็นดอกสมบรูณ์เพศจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลมีลักษณะรูปทรงกลมหรือทรงแป้น ลักษณะของผลจะอุ้มน้ำ ผลอ่อนจะมีสีเขียว ส่วนผลแก่จัดจะมีสีเหลือง เมล็ดในผลเป็นรูปไตโดยจะเรียงตามแนวตั้งมีอยู่จำนวนประมาณ 5 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 5-12 เซนติเมตร มีขนกำมะหยี่

 KTON4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบสด, เปลือกต้น, ผล และ ราก
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบสด ขับเหงื่อ แก้ไข้
  2. เปลือกต้น รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
  3. ผล ฝาดสมาน เป็นอาหาร
  4. ราก ขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

 KTON2

วิธีการใช้ :

  1. ขับเหงื่อ แก้ไข้ นำใบสดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ ต้มกับน้ำอาบแก้ไข้
  2. รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำอาบรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
  3. ฝาดสมาน นำผลรับประทาน
  4. ขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
กระท้อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถวอินโดจีนมาเลเซียตะวันตก ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมอริเชียส และประเทศฟิลิปปินส์

 





.