บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

กระทือ


ชื่อสมุนไพร : กระทือ
ชื่อเรียกอื่นๆ : เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน), กระทือป่า, กะแวน, กะแอน, แสมดำ, เฮียวดำ, แฮวดำ (ภาคเหนือ), ทือ และ กะทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet  (L.) Smith.
ชื่อสามัญ : Shampoo Ginger และ  Wild Ginger
วงศ์ : ZINGIBERACEAE



Kat1

กระทือเป็นพืชที่มีกลิ่นหอม รสขมขื่น ปร่า และเผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ซึ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าหัว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และมีแสงแดดส่องตลอดวัน ส่วนใหญ่พบมากในภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยในสถานที่ต่างๆ โดยดอกกระทือนั้นสามารถนำไปใช้ปักแจกันเพื่อความสวยงามได้ พบว่าพืชชนิดนี้จะมีสารอาหารน้อย แต่ก็มีการนำไปประกอบอาหาร ซึ่งเนื้อในจะมีรสขมขื่นเล็กน้อย ต้องนำมาหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ ก่อนนำมารับประทาน โดยทางภาคใต้นำเหง้าไปแกงกับปลาย่างเพื่อใช้รับประทาน ส่วนหน่ออ่อนหรือต้นอ่อนกระทือ สามารถนำมาทำแกงเผ็ด แกงไตปลา หรือนำไปต้มจิ้มกินกับน้ำพริกได้ ซึ่งหากสกัดกระทือด้วยเมทธิลแอลกอฮอล์ สามารถนำมาใช้ป้องกันและกำจัดเหาได้เป็นอย่างดี โดยได้ผลดีกว่าขมิ้นชัน ขิง และไพล

 Kat3

ลักษณะสมุนไพร :
กระทือเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่เหนือดินสูงราว 0.9-1.5 เมตร และมีเหง้าอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้ากระทือ” หรือ “หัวกระทือ” เปลือกนอกของเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบค้ลายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา  ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ  โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่

 Kat4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เหง้า, ต้น, ใบ และ ดอก
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  2. เหง้า บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ฝี
  3. ต้น แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส แก้ไข้
  4. ใบ ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ แก้เบาเป็นโลหิต
  5. ดอก แก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ผอมเหลือง บำรุงธาตุ แก้ลม

 Kat2

วิธีการใช้ :

  1. แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ฝี นำเหง้ามาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส แก้ไข้ นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ แก้เบาเป็นโลหิต นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ผอมเหลือง บำรุงธาตุ แก้ลม นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
กระทือเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

 





.