กระทงลาย

ชื่อสมุนไพร : กระทงลาย
ชื่อเรียกอื่นๆ : นางแตก (นครราชสีมา), มะแตก, มะแตกเครือ, มักแตก (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), กระทงลาย, กระทุงลาย, โชด (ภาคกลาง) และ หมากแตก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Celastrus paniculata Wild.
ชื่อสามัญ : Black Ipecac, Black Oil Plant, Black Oil Tree, Celastrus Dependens, Climbing Staff Plant, Climbing Staff Tree และ Intellect Tree
วงศ์ : CELASTRACEAE

KTL5

กระทงลายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบต้นกระทงลายได้ทั่วไป โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ หรือตามพื้นที่โล่ง ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 0-1,300 เมตร และจะพบได้มากทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประโยชน์ของต้นกระทงลาย ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้แกงใส่ไข่มดแดง หรือใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก น้ำมันจากเมล็ดใช้ตามไฟหรือเคลือบกระดาษกันน้ำซึม ผลสามารถนำไปสกัดน้ำมันทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ในสมัยก่อนจะใช้เมล็ดแก่บีบเอาน้ำมันสำหรับใช้จุดตะเกียง

 KTL2

ลักษณะสมุนไพร :
กระทงลายเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 3-10 เมตร หรือขึ้นพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา ผิวขรุขระเล็กน้อย ตามกิ่งจะมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปวงรี หรือเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักละเอียดเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนอยู่ประปราย มีเส้นแขนงใบประมาณ 5-9 คู่ มองเห็นได้ชัดเจน และก้านใบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวอมสีเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ มีลักษณะเป็นพู 3 พู ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอยู่ ต่อพอผลแก่เต็มที่แล้วเกสรที่ปลายก็จะหลุดออก ผลอ่อนเป็นสีเขียว

 KTL3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ใบ, เมล็ด, ผล, ราก และ เปลือกต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. ใบ กระตุ้นประสาท ยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน ช่วยรักษาโรคบิด ถอนพิษฝิ่น
  2. เมล็ด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความจำ ยาแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคเหน็บชา รักษาโรคปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ ยาแก้โรคอัมพาต
  3. ผล ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้ลมจุกเสียด ช่วยแก้พิษงู
  4. ราก ยาแก้ไข้มาลาเรีย ยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน แก้อาการปวดท้อง
  5. เปลือกต้น ยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการบิด

 KTL1

วิธีการใช้ :                                     

  1. กระตุ้นประสาท ยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน ช่วยรักษาโรคบิด ถอนพิษฝิ่น นำใบนำมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความจำ ยาแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคเหน็บชา รักษาโรคปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ ยาแก้โรคอัมพาต นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้ลมจุกเสียด ช่วยแก้พิษงู นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ยาแก้ไข้มาลาเรีย ยาแก้ไข้ลงท้องหรืออาการท้องเดิน แก้อาการปวดท้อง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. ยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการบิด นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
กระทงลายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย และนิวแคลิโดเนีย

 

.

©2024 ThaiHerbal.org | แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร WordPress Video Theme by WPEnjoy