ชื่อสมุนไพร : กระทกรก
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักขี้หิด (เลย),รุ้งนก (เพชรบูรณ์), เงาะป่า (กาญจนบุรี), เถาเงาะ, เถาสิงโต (ชัยนาท), ยันฮ้าง (อุบลราชธานี), เยี่ยววัว (อุดรธานี), ผักบ่วง (สกลนคร), หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์), เครือขนตาช้าง (ศรีษะเกษ), ตำลึงฝรั่ง, ตำลึงทอง, ผักขี้ริ้ว, ห่อทอง (ชลบุรี), รกช้าง (ระนอง), หญ้ารกช้าง (พังงา), ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ), รก (ภาคกลาง), กระโปรงทอง (ภาคใต้), ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), ผักแคบฝรั่ง (ขมุ), มั้งเปล้า (ม้ง), หล่อคุ่ยเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เล่งจูก้วย, เล้งทุงจู (จีน), รังนก และกะทกรกป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora foetida L.
ชื่อสามัญ : Fetid Passion Flower, Scarletfruit Passion Flower และ Stinking Passion Flower
วงศ์ : PASSIFLORACEAE
กระทกรกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลาย ซึ่งในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัว ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง ผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งจะได้เป็นยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตเป็นยาสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และยังมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพดี มีความคงตัวสูง
ลักษณะสมุนไพร :
กระทกรกเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบดอก 10 กลีบ กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสตัวผู้ประมาณ 5-8 อัน ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 อัน รังไข่เกลี้ยง ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ทั้งต้น และ ใบ
สรรพคุณทางยา :
- ราก ช่วยทำให้สดชื่น ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ช่วยแก้กามโรค
- ทั้งต้น บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการบวม แก้อาการบวมที่ไม่รู้สาเหตุ
- ใบ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ยาเบื่อและยาขับพยาธิ ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด แก้หืด ช่วยแก้อาการบวม รักษาสิว
วิธีการใช้ :
- ช่วยทำให้สดชื่น ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ช่วยแก้กามโรค นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการบวม แก้อาการบวมที่ไม่รู้สาเหตุ นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
- ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ยาเบื่อและยาขับพยาธิ ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด แก้หืด ช่วยแก้อาการบวม รักษาสิว นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทานหรือ นำมาตำแล้วพอกแผล
ถิ่นกำเนิด :
กระทกรกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
.