บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

กระดึงช้างเผือก


ชื่อสมุนไพร : กระดึงช้างเผือก
ชื่อเรียกอื่นๆ : ขี้กาลาย, มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง, กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้) และ เถาขี้กา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes tricuspidata Lour.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : CUCURBITACEAE
KDCH2
กระดึงช้างเผือกเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่ สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณทั่วๆไป และในต่างประเทศสามารถพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน พืชชนิดนี้นั้นมีสรรพคุณทางยามากมายโดยเน้นที่ยาแก้ไข้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ราก ดอก หรือแม้กระทั่งผลก็ตาม แทบทุกส่วนมีสรรพคุณทางยาทั้งหมด



 KDCH3

ลักษณะสมุนไพร :
กระดึงช้างเผือกเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่ เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยมสีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้นๆ สากมือ แต่ขนจะค่อยๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง และมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่างๆ ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกัน มีตั้งแต่รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม ไปจนถึงเป็นรูปทรง 5 เหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าคล้ายรูปหัวใจกว้างๆ ส่วนขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแฉก 3-7 แฉก โดยแฉกกลางจะยาวที่สุด ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น ปลายเส้นใบยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้นๆ หลังใบเห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน ผิวใบด้านบนสากมือ ด้านล่างมีขนสีออกขาว ก้านใบมีขนหรือเกือบเกลี้ยง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาว มีใบประดับรูปไข่กลับ ขอบใบประดับหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้นๆ กลีบเป็นรูปหอกป้อมๆ ขอบหยักแบบฟันเลื่อยหรือเว้าถึงแหลม ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเล็กน้อย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม มีลายทางเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อนตลอดผล ผิวมีขน ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงมีลายสีเหลือง ผลมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเขียว มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเทา เมื่อแห้งเนื้อจะโปร่งคล้ายฟองน้ำ ภายในผลมีเมล็ดเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแบน

 KDCH4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ, ดอก, เถา และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ยาบำรุงร่างกาย ยาถ่าย ยาแก้ตับหรือม้ามโต แก้โรคเรื้อน
  2. ใบ แก้หวัดคัดจมูก แก้โรคผิวหนัง
  3. ดอก ยาบำรุงกำลัง ยาแก้ไข้
  4. เถา ยาดับพิษเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะให้ตก ยาบำบัดโรคท้องผูกเรื้อรัง ยาบำรุงน้ำดี ยาฆ่าเลือด ไร หิด เหา
  5. ผล ยาถ่ายพิษตานซาง ยาถ่ายเสมหะ ยาขับพยาธิ ยาแก้ตับปอดพิการ

 KDCH5

วิธีการใช้ :                                     

  1. ยาบำรุงร่างกาย ยาถ่าย ยาแก้ตับหรือม้ามโต นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้โรคเรื้อน นำรากสดใช้ตำผสมกับน้ำมันทาแก้โรคเรื้อน
  3. แก้หวัดคัดจมูก นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้โรคผิวหนัง นำใบใช้ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนัง
  5. ยาบำรุงกำลัง ยาแก้ไข้ นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. ยาดับพิษเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะให้ตก ยาบำบัดโรคท้องผูกเรื้อรัง ยาบำรุงน้ำดี นำเถามาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  7. ยาฆ่าเลือด ไร หิด เหา นำเถามาต้มกับน้ำ ล้างฆ่าเลือด ไร หิด เหา
  8. ยาถ่ายพิษตานซาง ยาถ่ายเสมหะ ยาขับพยาธิ ยาแก้ตับปอดพิการ นำผลมารับประทาน

 KDCH6

ถิ่นกำเนิด :
กระดึงช้างเผือกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน

 





.