บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้หัวใต้ดินปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

ว่านมหากาฬ


ชื่อสมุนไพร : ว่านมหากาฬ
ชื่อเรียกอื่นๆ : คำโคก (ขอนแก่น, เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา), ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์), ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี), ดาวเรือง (ภาคกลาง), แจะออเมีย (เมี่ยน), ชั่วจ่อ (ม้ง), เครือผักปั๋ง (ลั้วะ) และ หนิวเสอซันฉิ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina  (L.) DC.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : ASTERACEAE



WMK1

ว่านมหากาฬเป็นพืชที่ใช้ปลูกลงแปลงประดับในสวน เพราะใบมีลวดลายสวยงาม หรือปลูกคลุมดิน ปลูกริมน้ำตก หรือลำธารก็ได้ ในด้านความเป็นมงคล มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจ หากนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายทั้งได้ และยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั่วไป ว่านมหากาฬเป็นพืชที่สามารถสะสมโลหะหนักสังกะสีและแคดเมียมได้สูง จึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองแร่ ฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ชาวลั้วะจะใช้ใบเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ต้มใส่หมูหรือไก่ ส่วนชาวเมี่ยนจะใช้ใบสดนำมารับประทานร่วมกับลาบ และจากการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมและงูสวัด พบว่า สารสกัดจากใบว่านมหากาฬสามารถทำให้อัตราการกลับมาเป็นใหม่ของโรคลดลงได้

WMK3

ลักษณะสมุนไพร :
ว่านมหากาฬเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีหัวอยู่ใต้ดิน รากเนื้อนิ่มอ่อน เปลือกรากเป็นสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อในเป็นสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลัก ลักษณะของงใบเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักห่างๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-30 เซนติเมตร ใบแผ่ออกอยู่บนพื้นดิน แผ่นใบหนาและแข็ง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนใบอ่อนเป็นสีม่วงแก่ ส่วนก้านใบสั้นเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แทงขึ้นมาจากพื้นดิน ดอกย่อยเป็นสีส้มเหลืองมีหนามเล็ก ดอกเป็นรูปทรงกระบอก ลักษณะเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีมีขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดล่อน ปลายมีขน

WMK4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, หัว และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น ช่วยฟอกเลือด แก้ไข้ แก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ยาคลายเส้น
  2. หัว ดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ ระส่ำระสาย หรือกระสับกระส่าย แก้ไข้ แก้โรคบิด รักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี ช่วยแก้เริม รักษาแผลพุพองและฝี
  3. ใบ แก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ ช่วยขับระดูของสตรี ห้ามเลือดจากบาดแผล รักษางูสวัด เริม แก้ฝี หรือหัวลำมะลอก ถอนพิษ แก้อาการปวดแสบปวดร้อน บำรุงร่างกาย หรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต

 WMK2

วิธีการใช้ :

  1. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึมระส่ำระสาย ทำให้เลือดเย็น ช่วยฟอกเลือด แก้ไข้ แก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ยาคลายเส้น นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ ตำพอกบริเวณแผล แก้ปวด
  2. ดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ พิษเซื่องซึม แก้ไข้ ระส่ำระสาย หรือกระสับกระส่าย แก้ไข้ แก้โรคบิด รักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี ช่วยแก้เริม รักษาแผลพุพองและฝี นำหัวมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้คอเจ็บคอและอมกลั้วคอ ช่วยขับระดูของสตรี ห้ามเลือดจากบาดแผล รักษางูสวัด เริม แก้ฝี หรือหัวลำมะลอก ถอนพิษ แก้อาการปวดแสบปวดร้อน บำรุงร่างกาย หรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
ว่านมหากาฬเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.