บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เพชรสังฆาต


ชื่อสมุนไพร : เพชรสังฆาต
ชื่อเรียกอื่นๆ : สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี) และ สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : VITACEAE



PSH1

เพชรสังฆาตหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ตำลึงทอง จัดเป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานานแล้ว ในตำรายาโบราณว่าไว้ เถาเพชรสังฆาตมีรสร้อน ขม และคัน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ   แก้ริดสีดวงทวาร แก้ลมในลำไส้ สรรพคุณที่โดดเด่นแก้ริดสีดวงทวาร สำหรับการวิจัยในประเทศไทยนั้น มีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้เพชรสังฆาตเพื่อการรักษาโรคริดสีดวงทวาร  โดย พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของ เพชรสังฆาตในผู้ป่วยริดสีดวงทวาร เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน คือ ดาฟลอน พบว่าประสิทธิภาพไม่ต่างกัน โดยสรุปว่าการใช้ยาไทยอย่างเพชรสังฆาตนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่านั่นเอง และข้อสำคัญคือเจ้าเพชรสังฆาตนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงในระยะเริ่มต้น แต่สำหรับระยะที่มีการติดเชื้อ อักเสบรุนแรงอาจต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา นอกจากนี้จะช่วยรักษาริดสีดวงทวารได้แล้วยังมีประโยชน์ในเรื่องของการบำรุงกระดูกได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้อย่าง แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทอินเดีย โดยสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก แต่สรรพคุณในการรักษาริดสีดวงของสมุนไพรเพชรสังฆาตใช่ว่าจะรักษาริดสีดวงได้หายขาดเสมอไป การจะหายช้าหรือเร็วก็ยังขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมากหรือน้อย รวมไปถึงนิสัยการรับประทานอาหาร การดูแลตัวเองด้วย ควรหมั่นรับประทานผักหรืออาหารที่เส้นใย และสำหรับที่เป็นมากในระดับหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเพชรสังฆาตหรือยาดาฟลอนก็ช่วยแค่บรรเทาอาการของโรคเท่านั้น ต้องผ่าตัดอย่างเดียว

 PSH2

ลักษณะสมุนไพร :
เพชรสังฆาตเป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบโค้งมนโคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกจะมีจำนวน 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดงด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง และบริเวณที่ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 4 อัน ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดงออกดำ ในผลมีเมล็ดกลมสีน้ำตาลจำนวน 1 เมล็ด โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

 PSH3

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : น้ำจากต้น, เถา, ใบยอดอ่อน และ ราก
สรรพคุณทางยา :

  1. น้ำจากต้น  ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
  2. ยอดอ่อน  รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
  3. ใบ  เป็นยาพอก
  4. ราก  เป็นยาพอก
  5. เถา  ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก

 PSH4

วิธีการใช้ :

  1. ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร นำต้นมาต้มกับน้ำ ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล
  2. รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย นำยอดอ่อนมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. เป็นยาพอก นำใบหรือรากมาพอกแผล
  4. ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก นำเถาสด 2-3 กำมือ รับประทานสดๆ หรือนำเถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย

ถิ่นกำเนิด :
เพชรสังฆาตเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน และ ประเทศฟิลิปินส์

 





.