บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

รสสุคนธ์แดง


ชื่อสมุนไพร : รสสุคนธ์แดง
ชื่อเรียกอื่นๆ : อรคนธ์ (กรุงเทพมหานคร), เครือปด (ชุมพร), ย่านเปล้า (ตรัง), ปดลื่น (ยะลา, ปัตตานี), เถาอรคนธ์ (ภาคกลาง), ย่านปด (ภาคใต้) และ อุเบ๊ะสะปัลละเมเยาะ (มลายู-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : DILLENIACEAE



RSKD4

รสสุคนธ์แดงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งแล้วทำเป็นซุ้มหรือค้างให้เลื้อยไต่ ซึ่งจะออกดอกดกและสวนงามกว่าการนำมาปลูกในกระถาง และหมั่นตับยอดให้ขึ้นพันซุ้มและตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าละเมาะทางภาคใต้ ที่ระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง ชอบดินร่วน น้ำปานกลาง และแสงแดดจัด ใบสามารถนำมาใช้แทนกระดาษทรายได้ ลำต้นใช้ทำเป็นเชือก และในประเทศอินเดียจะใช้พืชชนิดนี้เป็นยาเบื่อปลา

 RSKD3

ลักษณะสมุนไพร :
รสสุคนธ์แดงเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร เถาเป็นสีน้ำตาลแดง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดบางๆ ส่วนเถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลอมเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบสากคาย มีขนตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบสั้นสีแดง ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ดอกมีขนาดประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมเย็น มีกลีบเลี้ยงหนาสีเขียวอมแดง 4 กลีบ กว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ไม่มีขน ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมชู มี 4-5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ กลีบดอกหลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกผลเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 3-4 ผล ผลเป็นผลแบบแคปซูลแห้งแตกเป็นแนวตะเข็บด้านเดียว มีกลีบเลี้ยงหุ้มผลไว้เกือบหมด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีส้มถึงแดง ปลายผลมีจะงอยแหลม ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด

 RSKD2

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น, ดอก, ราก, ใบ และ ยอดอ่อน
สรรพคุณทางยา :

  1. ทั้งต้น ยาบำรุงกำลัง รักษาแผลในปาก ยาแก้อาการตกเลือดภายในปอด ยาแก้อาการบวม แก้ฝี
  2. ดอก ยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลม
  3. ราก ยาขับปัสสาวะ ตำพอกผิวหนังแก้ผื่นคัน แก้อาการบวม แก้ฝี
  4. ใบ แก้ผื่นคัน
  5. ยอดอ่อน รักษางูกัด

 RSKD1

วิธีการใช้ :                                     

  1. บำรุงกำลัง นำทั้งต้น นำมาผสมกับต้นเส้ง เปลือกต้นทุเรียน (เลือกเอาเฉพาะส่วนที่สูงจากเอวขึ้นไป) นำมาตำสดๆ คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนดื่ม หรือจะตำแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำมาแชในเหล้าขาว ใช้จิบกินทีละน้อย
  2. รักษาแผลในปาก นำทั้งต้นมาต้มเอาน้ำใช้อมกลั้ว
  3. ยาแก้อาการตกเลือดภายในปอด นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำกิน
  4. ยาแก้อาการบวม แก้ฝี นำลำต้นมาผสมกับหญ้างวงช้างทั้งต้น แล้วต้มกับน้ำดื่ม
  5. ยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ลม นำดอกมาต้มกับน้ำกิน
  6. ยาขับปัสสาวะ ตำพอกผิวหนังแก้ผื่นคัน แก้อาการบวม แก้ฝี นำรากมาต้มกับน้ำกิน
  7. แก้ผื่นคัน นำใบมาตำพอกผิวหนังแก้ผื่นคัน
  8. รักษางูกัด นำยอดอ่อนมาตำพอกรักษางูกัด

ถิ่นกำเนิด :
รสสุคนธ์แดงเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.