บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยา

มะหาด


ชื่อสมุนไพร : มะหาด
ชื่อเรียกอื่นๆ : ปวกหาด (เชียงใหม่), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาดขนุน (ภาคเหนือ), ฮัด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หาด (ทั่วไป-ภาคกลาง), เซยาสู้ (กะเหรี่ยง-กำแพง), กาแย, ตาแป, ตาแปง (มลายู-นราธิวาส) และ ขนุนป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อสามัญ :
วงศ์ : MORACEAE



MHA2

มะหาดเป็นต้นไม้ที่พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้งตามป่าดงดิบ ปาเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าคืนสภาพ ป่าหินปูน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,800 เมตร พืชชนิดนี้สามารถปลูกเป็นไม้เพื่อให้ร่มเงา ความร่มรื่นได้ และยังช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี เปลือกต้นมะหาดมีรสฝาดสามารถนำมาเคี้ยวกับหมากแทนสีเสียดได้ ใยจากเปลือกต้นมะหาดนำมาใช้ทำเชือก รากมะหาดสามารถนำมาสกัดเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีเหลือง เนื้อไม้สามารถเลื่อยกบไสตบแต่งได้ง่าย ปลวกและมอดไม่ชอบทำลาย จึงนิยมใช้ทำเสา สร้างบ้าน ทำสะพาน ทำหมอนรองรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร และผลมะหาดสุกมีรสหวานอมเปรี้ยวซึ่งจะรับประทานได้

 MHA3

ลักษณะสมุนไพร :
มะหาดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15-20 เมตร ลักษณะเปลาตรง ทรงพุ่มกลมหรือแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีดำ ต้นแก่ผิวเปลือกจะค่อนข้างหยาบ ขรุขระและแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้ามนหรือแหลมกว้าง ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 5-20 เซนติเมตร และยาว 10-30 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนหยาบเล็กน้อย ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอมเทา มีขนหยาบสีเหลืองเล็กน้อย ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นกลมสีเหลืองหม่นถึงสีชมพูอ่อน โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่อยู่คนละช่อ ผลเป็นสดและมีเนื้อ เป็นผลรวมสีเหลือง รูปทรงกลมค่อนข้างบิดเบี้ยวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ผิวผลขรุขระและมีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนถึงส้ม เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อผลนุ่มเป็นสีเหลืองถึงสีชมพู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเกือบกลม เมล็ดเป็นสีน้ำตาลทา

 MHA4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : แก่น, ราก และ เปลือกต้น
สรรพคุณทางยา :

  1. แก่น ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน แก้ผื่นคัน  แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ  แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ขับเลือด ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย
  2. ราก แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน
  3. เปลือกต้น แก้ไข้

 MHA1

วิธีการใช้ :

  1. ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน แก้ผื่นคัน  แก้ดวงจิตขุ่นมัว ระส่ำระสาย แก้นอนไม่หลับ แก้เบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ถ่ายพยาธิ  แก้ท้องโรพุงโต แก้จุกผามม้ามย้อย แก้ฝีในท้อง แก้ปวด แก้เคือง กระจายโลหิต แก้ขุกแน่น แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ผายลม แก้ผื่นคัน แก้ตานขโมย เป็นยาระบาย ถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ขับเลือด ถ่ายพยาธิตัวแบน แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย นำแก่นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้ไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับพยาธิ แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  3. แก้ไข้ นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
มะหาดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย

 





.