ไพล


ดอกไพล



ชื่อสมุนไพร : ว่านไพล หรือ ไพล
ชื่อเรียกอื่นๆ : ปูขมิ้น, มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr.
ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ต้นไพล

ไพล เป็นไม้ล้มลุกขนาด 70 เซนติเมตร ถึง 150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาล เนื้อด้านในมีสีเหลือง แทงหน่อออกเป็นกอ เหง้าไพลสด จะมีรสฝาด ฉ่ำน้ำ ร้อนซ่า และมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่จะมีรสเผ็ด

หัวไพล

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ดอก, ใบ, เหง้า, หัว
สรรพคุณทางยา :

  • ดอกไพล สรรพคุณช่วยขับโลหิตและกระจายเลือดเสีย กระจายเลือดที่เป็นลิ่มเป็นก้อน
  • ใบไพล ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้เมื่อย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย
  • เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาหอบหืด ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องขึ้น ท้องเดิน ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด บิดเป็นมูกเลือด ช่วยแก้อาการท้องผูก
  • หัวไพล ช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง ด้วยการใช้หัวไพลนำมาฝนแล้วทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวมหรือเคล็ดขัดยอก

ข้อควรระวัง : การทาน ไพลสด ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับเป็นพิษได้ ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร

ถิ่นกำเนิด :
ไพล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย





.