บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เปลือกไม้ปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

โมกมัน


ชื่อสมุนไพร : โมกมัน
ชื่อเรียกอื่นๆ : มูกน้อย, มูกมัน (น่าน), โมกมันเหลือง (สระบุรี), มักมัน (สุราษฎร์ธานี), โมกน้อย (ทั่วไป), เส่ทือ, แนแก และ แหน่แก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.
ชื่อสามัญ : Ivory, Darabela, Karingi และ Lanete
วงศ์ : APOCYNACEAE



MMN1

โมกมันเป็นเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดี มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าโปร่งทั่วไป ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลถึง 1,600 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ชอบความชื้นปานกลาง เปลือกต้นสามารถนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมเส้นไหมด้วย โดยจะใช้สีเขียวอ่อน และเปลือกให้เส้นที่นำไปใช้ทำกระดาษ และใช้แทนเส้นใยจากฝ้ายได้ ส่วนเนื้อไม้โมกมัน มีเนื้อไม้เป็นสีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อเหนียวและละเอียดมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ในงานแกะสลัก ทำเครื่องกลึง เครื่องเล่นสำหรับเด็ก ทำซออู้ ซอด้วง จะเข้ นอกจากนี้ยอดอ่อนใช้ลวกจิ้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาทำแกงได้

 MMN3

ลักษณะสมุนไพร :
โมกมันเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบ สูงประมาณ 5-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีขาวหรือสีเทาอ่อน เปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว มีขนสีขาวตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีรูอากาศมาก ที่เปลือกด้านในมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก พื้นผิวใบบางคล้ายแผ่นกระดาษ แผ่นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ด้านบนมีขนเฉพาะที่เส้นกลางใบหรือมีขนทั่วไป ดอกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวอมเหลือง ก้านช่อดอกและก้านดอกย่อยมีขนสั้นนุ่มขึ้นอยู่ประปรายถึงหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกบิด โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกเป็นรูปรี รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน ปลายหลอดกลีบดอกก้านดอกมีขนสั้นนุ่ม ส่วนด้านในเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด กระบังรอบที่ติดตรงจ้ามกลีบดอกยาวประมาณ 3.5-5 มิลลิเมตร ติดแนบเกือบตลอดความยาว ปลายจักเป็นซี่ฟัน กระบังรอบที่ติดสลับกับกลีบดอกยาวประมาณ 1.5- มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปแถบ ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก ผลเป็นฝักยาวคิดคู่กันและห้อยลง ลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระบอก เป็นร่อง 2 ร่อง พื้นผิวฝักเกลี้ยงหรือขรุขระ ไม่มีรูอากาศ ฝักเมื่อแก่เต็มแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก

 MMN4

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, เปลือกต้น, ใบ และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. ราก รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แก้ลม แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง ลมสันดาน รักษางูกัด
  2. เปลือกต้น รักษาธาตุไฟให้เป็นปกติ ช่วยบำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ เจริญอาหาร แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ รักษาโรคไต แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อคุดทะราด เชื้อรำมะนาด
  3. ใบ รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ขับเหงื่อ แก้ท้องมาน แก้ตับพิการ ขับน้ำเหลืองเสีย
  4. ผล แก้ฟันผุ ช่วยฆ่าเชื้อรำมะนาด

 MMN2

วิธีการใช้ :

  1. รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แก้ลม แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง ลมสันดาน รักษางูกัด นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. รักษาธาตุไฟให้เป็นปกติ ช่วยบำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ เจริญอาหาร แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ รักษาโรคไต แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อคุดทะราด เชื้อรำมะนาด นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน หรือ ล้างแผล
  3. รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ขับเหงื่อ แก้ท้องมาน แก้ตับพิการ ขับน้ำเหลืองเสีย นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. แก้ฟันผุ ช่วยฆ่าเชื้อรำมะนาด นำผลมาต้มกับน้ำ บ้วนปาก หรือ ฆ่าเชื้อ

 MMN5

ถิ่นกำเนิด :
โมกมันเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.