บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรแนะนำ

แคนตาลูป


ชื่อสมุนไพร : แคนตาลูป
ชื่อเรียกอื่นๆ : แตงเทศ, แตงฝรั่ง และ แตงไทยฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. cantaloupensis.
ชื่อสามัญ : Cantaloupe
วงศ์ CUCURBITACEAE



CTR2

แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับแตงไทย เปลือกจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ซึ่งมีทั้งแบบผิวเรียบและผิวลายตาข่ายนูน ส่วนเนื้อในมี 2 แบบ คือ เนื้อกรอบและเนื้อนิ่ม ส่วนสีของเนื้อในมีทั้งสีเขียว และสีส้มโดยลักษณะที่โดดเด่นของผลไม้ชนิดนี้จะมีเนื้อในที่ฉ่ำน้ำ และที่สำคัญก็คือมีกลิ่นหอมหวานซึ่งไม่เหมือนกับผลไม้ชนิดอื่น นอกจากความอร่อยหอมหวานแล้ว แคนตาลูปยังมีสรรพคุณและประโยชน์อีกมากมาย เพราะในแคนตาลูปนั้นมีสารอาหารจำพวกโปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปแทสเซียม ธาตุเห็ลก วิตามินบี1 บี2 บี3 บี9 วิตามินเอและซี และโซเดียม ซึ่งสารเหล่านี้มีความจำเป็นต่อร่างกายทั้งสิ้น  ทั้งยังมีสารแคโรทีนอยด์และเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับผลการวิจัย พบว่าหากรับประทานแคนตาลูปวันละ100 กรัม สามารถลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลงร้อยละ 1.5 เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่นๆ เช่น ช่วยล้างพิษ ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ แก้กระหาย บำรุงสายตา บำรุงกระดูก บรรเทาการอักเสบของลำไส้ เนื่องจากมีสารเคลือบกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังช่วยป้องกันการจับตัวของคอเลสเตอรอลบนผนังหลอดเลือดอีกด้วย

CTR5

ลักษณะสมุนไพร :
แคนตาลูปเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย ความยาวช่วงข้อประมาณ 15– 20 เซนติเมตร ลำต้นกลม มีหนามเล็ก ๆ มองดูคล้ายขนรอบ ๆ ลำต้น บริเวณข้อจะแตกกิ่งแขนงย่อยออกมาระหว่างลำต้นและซอกใบ กิ่งแขนงย่อยเหล่านี้เป็นที่เกิดของมือเกาะและหนวดใบมีฐานเว้า ผิวใบไม่เรียบ การเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ใบจะเกิดตรงข้อ ๆ ละ 1 ใบ ก้านใบมีลักษณะกลวง ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีขนที่ใบและก้านใบออกดอกแบ่งเป็นตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดบริเวณซอกใบตำแหน่งเดียวกับแขนงย่อย ดอกมีสีเหลืองลักษณะคล้ายดอกแตงทั่วไป ส่วนดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศจะเกิดบนกิ่งแขนงย่อยข้อแรก ผลเกิดอยู่บนกิ่งแขนงย่อย ลักษณะแตกต่างไปตามพันธุ์ บางพันธุ์มีตาข่ายร่างแหปกคลุม บางพันธุ์มีร่องเป็นทางยาวตลอดตามแนวของผล รูปร่างของผลค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะรี สีของเนื้อมีลักษณะแตกต่างไปตามพันธุ์

 CTR1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ผลสุก
สรรพคุณทางยา :

  1. ผลสุก บำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอย ต้านโรคมะเร็งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันบำรุงและรักษาสายตา บำรุงระบบประสาทและสมอง ดับร้อน แก้กระหาย บำรุงธาตุรักษาโรคความดันโลหิต รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดไข้ ขับปัสสาวะบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลำไส้บรรเทาอาการท้องปั่นป่วน ขับน้ำนมขับเหงื่อ บำรุงกระดูกและฟันขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง

 CTR4

วิธีการใช้ :

  1. บำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอย ต้านโรคมะเร็งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันบำรุงและรักษาสายตา บำรุงระบบประสาทและสมอง ดับร้อน แก้กระหาย บำรุงธาตุรักษาโรคความดันโลหิต รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดไข้ ขับปัสสาวะบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลำไส้บรรเทาอาการท้องปั่นป่วน ขับน้ำนมขับเหงื่อ บำรุงกระดูกและฟันขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง นำผลแคนตาลูปปอกเปลือกแล้วนำเมล็ดออกหั่นเป็นชิ้นเล็กปั่นเป็นน้ำแคนตาลูป หรือรับประทานผลสด

 CTR3

ถิ่นกำเนิด :
แคนตาลูปเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย

 





.