บทความสมุนไพรสมุนไพรสำหรับใช้ดอกปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ผลปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้รากปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ลำต้นปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้เมล็ดปรุงยาสมุนไพรสำหรับใช้ใบปรุงยา

เร่ว


ชื่อสมุนไพร : เร่ว
ชื่อเรียกอื่นๆ : หมากแหน่ง (สระบุรี), หน่อเนง (ชัยภูมิ), มะอี้, หมากอี้, มะหมากอี้ (เชียงใหม่) และ หมากเนิง (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.
ชื่อสามัญ : Bustard Cardamom และ Tavoy Cardamom
วงศ์ : ZINGIBERACEAE



RL2

เร่วเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะในดินร่วนซุยในที่ร่มรำไร นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือหน่อมากกว่าการใช้เมล็ด โดยเร่วจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกัน 10 ชนิด ที่ประกอบไปด้วย เร่วน้อย เร่วใหญ่ ชะเอมไทย ชะเอมเทศ อบเชยไทย อบเชยเทศ ผักชีล้อม ผักชีลาว ลำพันขาว และลำพันแดง เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิดตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ และแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต และจากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าเร่วใหญ่มีฤทธิ์ขับลม ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลาย และช่วยลดความดันโลหิตอีกด้วย

 RL3

ลักษณะสมุนไพร :
เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบเรียวยาว เป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีความยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลม ก้านใบเป็นแผ่นมีขนาดสั้น ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกจะรวมอยู่ในก้านเดียวกันเป็นช่อยาวๆ คล้ายกับดอกข่า กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนแล้วจะเปลี่ยนสีน้ำตาลเทา โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นกลีบ ก้านช่อดอกสั้น ลักษณะของผลค่อนข้างกลม ลักษณะเป็น 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีขน ผลแก่สีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากจับกันเป็นกลุ่มก้อนกลมๆ หรือกลมรี มี 3 พู โดยแต่ละพูจะมีเมล็ดประมาณ 3-15 เมล็ด อัดเรียงกันแน่น 3-4 แถว เมล็ดมีรูปรางไม่แน่นอน มีหลายเหลี่ยมและมีเป็นสันนูน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ผิวด้านนอกเรียบมีเยื้อบางหุ้ม ปลายแหลมของเมล็ดมีรูเห็นได้เด่นชัด เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอมเหลือง

 RL1

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เมล็ดจากผลที่แก่จัด, ราก, ต้น, ใบ, ดอก และ ผล
สรรพคุณทางยา :

  1. เมล็ดจากผลที่แก่จัด แก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร
  2. ราก แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม
  3. ต้น แก้คลื่นเหียน อาเจียน
  4. ใบ ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ
  5. ดอก แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย
  6. ผล รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง

 RL4

วิธีการใช้ :

  1. แก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร นำเมล็ดจากผลที่แก่จัดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม นำรากมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. แก้คลื่นเหียน อาเจียน นำต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  5. แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  6. รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน

ถิ่นกำเนิด :
เร่วเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 





.